มารู้จักชื่อเรียกต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Passport, Visa, Work Permit กันดีกว่า..
หลายคนเคยสงสัยและสับสนกับวิธีเรียกชื่อประเภทต่างๆ ของ Passport, Visa, Work Permit ไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวต่างชาติหรือคนไทย
ซึ่งรู้ไหมว่าแต่ละตัวมีหลายประเภทมากเลย แต่ละประเภทนั้นใช้งานก็แตกต่างกัน แถมยังมีหลายชื่อเรียกอีกต่างหาก แล้วชาวต่างชาติที่อยากเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องใช้วีซ่าประเภทไหนหละ?
Wonderful Package ขอไขข้อสงสัยและพามารู้จักกับชื่อเรียกต่างๆ ของ Visa และ Work Permit กันดีกว่าค่ะ
หนังสือเดินทาง (Passport) , วีซ่า (Visa) , ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร
1. หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต (Passport) คือ หนังสือเอกสารที่ใช้ในการไปต่างประเทศ ออกโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีข้อมูลระบุถึงตัวตนเรา อย่างชื่อ-นามสกุล วัน-เดือน-ปีเกิด จังหวัดที่เกิด เพศ สัญชาติ เป็นต้น
โดยหนังสือเดินทาง มี 4 ประเภท
ประเภทหนังสือเดินทาง |
สีเล่มปกหนังสือ |
อายุหนังสือ |
ใช้สำหรับ
|
1. ประชาชนทั่วไป |
สีแดงเลือดหมู |
5 ปี |
การท่องเที่ยว ไปเยี่ยมญาติหรือไปเรียนหนังสือที่ต่างประเทศ |
2. ราชการ |
สีน้ำเงินเข้ม |
5 ปี |
งานราชการเท่านั้น |
3. การฑูต |
สีแดงสด |
5 ปี |
บุคคลสำคัญอย่างพระบรมวงศานุวงศ์ หรือข้าราชการชั้นสูงอย่างเช่น นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี องคมนตรี ประธานศาลฎีกา เป็นต้น |
4. ชั่วคราว |
สีเขียว |
1 ปี |
กรณีหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ (บางประเทศไม่รับหนังสือเดินทางประเภทนี้) |
** ยังมีแบบพิเศษอีก 2 ประเภทคือ
- หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาค
- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อต้องการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
ในที่นี้ขอแยกอธิบายเป็น 3 ส่วน ดังนี้
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับบุคลอายุเกิน 20 ปีขึ้นไป
- บัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย
- กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ หรือวันเดือนปีเกิด ซึ่งข้อมูลไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขมาแสดง
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับบุคลอายุต่ำกว่า 15 ปี
- สูติบัตรฉบับจริง ** ฉบับสำเนาต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทยของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง
** หากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดา ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
- กรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วp
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา
** ในกรณีที่บิดา/มารดา หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ ในวันทำ Passport
- เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น
** ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต, กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส, กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้, กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตร อยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทาง (Passport) สำหรับบุคลอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น
หากสงสัยว่าต้องใช้เวลากี่วันเราถึงจะได้เล่มหนังสือเดินทาง (Passport)
ระยะเวลาในการออกเล่มหนังสือเดินทาง (Passport) จะขึ้นอยู่กับสถานที่ไปทำ และวิธีการรับดังนี้
- ยื่นที่กรมการกงสุลจะได้รับภายใน 2 วันทำการ รับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
- ยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) จะได้รับภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง ทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ
3. ยื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดจัดส่งทางไปรษณีย์ (ในเขตเมือง) จะได้รับภายใน 5 วันทำการ
** สำหรับผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ แนะนำให้มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้มีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
** หากไม่สามารถไปรับได้เอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนได้
ถ้าท่านมีความจำเป็นต้องใช้หนังสือเดินทาง (Passport) อย่างเร่งด่วนท่านก็สามารถเลือกทำหนังสือเดินทาง (Passport) แบบเร่งด่วนได้ โดยแบ่งเป็นรับภายในวันที่ยื่นเรื่องมีค่ารับในวันถัดไปที่ยื่นเรื่อง ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมต่างกันไป และมีให้บริการเฉพาะที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เท่านั้น จำกัดโควต้าการให้บริการ รวมกันวันละไม่เกิน 400 เล่มเท่านั้น
2. วีซ่า (Visa) คือ หลักฐานในการอนุญาตให้เข้าประเทศสำหรับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติของประเทศนั้น ออกโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศในประเทศนั้นๆ หรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งเมื่อได้รับอนุญาต ก็จะมีประทับตราหรือติดกระดาษสติ๊กเกอร์ในหนังสือเดินทาง (Passport) ทั้งนี้ บางประเทศก็มีข้อยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่าระหว่างประเทศ แต่จะมีกำหนดระยะเวลาว่าให้อยู่ได้ไม่เกินกี่วันตามเงื่อนไขในประเทศนั้นๆ
ประเภทและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจลงตราประเภทต่างๆ ของวีซ่า มี 7 ประเภท
ประเภทการตรวจลงตรา (วีซ่า) |
ชื่อภาษาอังกฤษ (ชื่อย่อ) |
อายุวีซ่า |
ระยะเวลาที่อยู่ประเทศไทย
|
ค่าธรรมเนียมวีซ่า |
1. คนเดินทางผ่านราชอาณาจักร |
Transit Visa (Visa-TS) |
3 เดือน |
30 วัน/ครั้ง |
800 บาท |
2. นักท่องเที่ยว |
Tourist Visa (Visa-TR) |
3-6 เดือน |
60 วัน/ครั้ง |
1,000 บาท |
3. คนอยู่ชั่วคราว |
Non-Immigrant Visa (Non-Imm Visa) |
3 เดือน-1 ปี |
90 วัน/ครั้ง
|
Single Entry 2,000 บาท
Multiple Entry 5,000 บาท
|
4. ทูต |
Diplomatic Visa (ไม่มีตัวย่อ) |
- |
90 วัน/ครั้ง |
ยกเว้นค่าธรรมเนียม |
5. ราชการ |
Official Visa (ไม่มีตัวย่อ) |
- |
90 วัน/ครั้ง |
ยกเว้นค่าธรรมเนียม |
6. อัธยาศัยไมตรี |
Courtesy Visa (ไม่มีตัวย่อ) |
3-6 เดือน |
90 วัน/ครั้ง |
ยกเว้นค่าธรรมเนียม |
7. คนอยู่ชั่วคราว ระยะยาว 1 ปี
|
Non-Immigrant Visa Long Stay (Non-Visa O to A) |
1 ปี |
90 วัน/ครั้ง |
5,000 บาท |
เฉพาะประเภทการตรวจลงตราวีซ่า คนอยู่ชั่วคราว (Non-Imm Visa) ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 10 ลักษณะ
Non-Visa แต่ละประเภท |
รหัส |
ชื่อย่อ |
1. การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ |
F |
Visa Non-F |
2. การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน |
B |
Visa Non-B |
3. การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง |
IM |
Visa Non-IM |
4. การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน |
IB |
Visa Non-IB |
5. การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ |
ED |
Visa Non-ED |
6. การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน |
M |
Visa Non-M |
7. การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ |
R |
Visa Non-R |
8. การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร |
RS |
Visa Non-RS |
9. การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ |
EX |
Visa Non-EX |
10. การอื่น |
O |
Visa Non-O |
การดำเนินการขอวีซ่า
นำหนังสืออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ ไปยังสถานทูตนั้นๆ พร้อมเอกสาร ดังนี้
1. หนังสือเดินทางเล่มจริง
2. แบบฟอร์มวีซ่า
3. หนังสือตอบรับ / หนังสือเชิญ รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 1-2 รูป ขึ้นอยู่กับสถานทูตนั้นๆ
4. ค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า
*** จากข้างต้นจะเห็นว่านอกจากวีซ่า (Visa) และหนังสือเดินทาง (Passport)ยังมีหนังสือที่เกี่ยวข้องอีกคือ หนังสือเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้เดินทางไปราชการต่างประเทศ ยื่นขอการตรวจลงตรา (Visa) ณ สถานทูตประเทศที่ประสงค์จะเดินทาง ออกโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ และงานวิเทศสัมพันธ์ จะเป็นผู้ออกหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ แบ่งเป็นกรณีต่างๆดังนี้
- หนังสือเดินทางราชการยังไม่หมดอายุ หรือมีอายุเกิน 6 เดือน นับถึงวันที่จะเดินทางไปราชการต่างประเทศ
- หนังสือเดินทางราชการหมดอายุ จะดำเนินการพร้อมกับการต่ออายุหนังสือเดินทางราชการ ยังไม่มีหนังสือเดินทางราชการ จะดำเนินการพร้อมกับการขอหนังสือเดินทางราชการใหม่ ซึ่งในการดำเนินการขอหนังสือเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้
1. สำเนาหนังสือขออนุมัติการไปราชการต่างประเทศ
2. หนังสือเชิญ / หนังสือตอบรับ
3. สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและหน้าที่บอกวันหมดอายุ พร้อมสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่หนังสือเดินทางราชการมีอายุเกิน 6 เดือน)
3. ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คือ ใบอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจ หรืออาชีพลูกจ้างได้ ออกโดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งการอนุญาตให้ทำงานได้นั้นเงื่อนไขจะต้องตรงตามเกณฑ์ที่กรมการจัดหางานกำหนดและยื่นเอกสารอย่างครบถ้วนถูกต้อง โดยจะได้รับหนังสือแจ้งผลภายใน 3 วันทำการ และอายุใบอนุญาต อยู่ที่ประมาณ 3 เดือน - 1 ปี ทั้งนี้ นายจ้างจะต้องแจ้งเข้าทำงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบผลอนุญาตด้วย
การทำงานในรูปแบบลูกจ้างนั้น ต้องยื่นแจ้งประเภทของกิจการ/นายจ้างให้ถูกต้องด้วย ซึ่งมีการแยกนายจ้างออกเป็น 5 ประเภท
1. สถานประกอบการเอกชน
2. โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
3. หน่วยงานราชการ
4. มูลนิธิหรือสมาคม
5. กิจการถ่ายหรือทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
อัตราค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ก็จะแตกต่างกันไปตามการยื่นคำขอ แบ่งได้ดังนี้
- ใบอนุญาต
อายุไม่เกินสามเดือน
อายุเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน
อายุเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
- การต่ออายุใบอนุญาตหรือการขยายระยะเวลาการทำงาน
ไม่เกินสามเดือน
เกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน
เกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี
- ใบแทนใบอนุญาต
- การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มลักษณะงาน
- การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง
- การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน
- การอนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มเงื่อนไขในการอนุญาต
เป็นอย่างไรบ้างคะ ตอนนี้ทุกคนหายงงหรือสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะ?
แต่ถ้ายังไม่หายข้องใจ หลังไมค์กับ Wonderful Package ได้เลยนะคะ ทางเรายินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาตลอดเวลาค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
Let's get to know the names about Passport, Visa and Work Permit
先来了解有关护照,签证,工作许可证的各种名称
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้