ค้นหาบทความ:

หากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะใช้สิทธิ Visa on Arrival (VOA) ในไทย ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ใช้สิทธิ VOA

อยากเที่ยวไทยสัก 1 สัปดาห์ แต่ไม่อยากเสียเวลาทำวีซ่าล่วงหน้า ลองตรวจสอบสิทธิของท่านว่าอยู่ในสัญชาติของประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องขอวีซ่าล่วงหน้าสิคะ Wonderful Package ขอแนะนำนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ชื่นชอบและอยากมาเที่ยวประเทศไทยในระยะสั้น (ไม่เกิน 15 วัน) โดยใช้สิทธิ Visa on Arrival กันค่ะ

Visa on Arrival (VOA) คืออะไร?

  • VOA เป็นวีซ่าท่องเที่ยวที่อายุไม่เกิน 15 วัน 
  • ผู้ถือพาสปอร์ตสามารถขอวีซ่าได้ทันทีเมื่อถึงประเทศปลายทาง ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในประเทศ (บางแห่งที่กำหนดไว้) โดยที่ไม่ต้องทำวีซ่าล่วงหน้า (ทำวีซ่าเมื่อถึงไทย)
  • ผู้ถือพาสปอร์ตจะได้รับวีซ่าเข้าประเทศทันทีเมื่อขอ VOA ซึ่งจะได้รับตรงจุดตรวจคนเข้าเมืองในประเทศ (บางแห่งที่กำหนดไว้)
  • ผู้ที่จะใช้สิทธิวีซ่าประเภทนี้ จะต้องมีสัญชาติถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางถูกต้องและสมบูรณ์ของประเทศที่ได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา กับประเทศไทย มีทั้งหมด 18 ประเทศ และ 1 เขตเศรษฐกิจ
  • ขั้นตอนในการขอรับ VOA จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที

คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าเข้าไทย

  • ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • มีหลักฐานแสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการพำนักในไทย เช่น ตั๋วเครื่องบิน และมีวีซ่าหรือหลักฐานว่าสามารถเดินทางกลับประเทศที่มีถิ่นพำนัก หรือเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นได้ (ในกรณีขอเดินทางผ่าน)
  • ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เช่น เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลไทยหรือคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ
  • มีเงินค่าใช้จ่ายเพียงพอในขณะพำนักในไทยตามระเบียบกำหนดคืออย่างน้อยคนละ 20,000 บาท

เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา Visa on Arrival (VOA) มีอะไรบ้าง?

  1. แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ (ขอรับแบบฟอร์มได้ ณ ช่องทางอนุญาตเข้าเมืองที่กำหนดไว้)
  2. หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
  4. ตั๋วหรือเอกสารที่ชำระค่าโดยสารครบถ้วน สามารถใช้เดินทางออกได้ภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาต คือไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามา
  5. เงินหรือเอกสารที่จะพึงจ่ายหรือแลกเปลี่ยนได้เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย คนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท หรือครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  6. ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท

ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะมีเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นขอวีซ่าแตกต่างกันออกไป แนะนำว่าก่อนการเดินทางควรเช็ครายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ทางการของประเทศและดินแดนจุดหมายปลายทาง 

ข้อดีและข้อเสียของ Visa on Arrival (VOA) คืออะไร?

ข้อดี คือ

  • ประหยัดเวลาและรวดเร็ว ไม่ต้องยื่นขอวีซ่าล่วงหน้า รอรับวีซ่าได้เลยเพียง 20-25 นาทีหลังจากยื่น ซึ่งปกติการยื่นขอวีซ่าใช้เวลาประมาณ 30 วัน
  • มีความสะดวก ใช้เอกสารประกอบการยื่นไม่กี่อย่าง เพียงแค่มีเอกสารขอยื่นครบถ้วนและถือสัญชาติของประเทศที่ยกเว้น ก็สามารถยื่นและรอรับได้เลย
  • มีความปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารสูญหายระหว่างรออนุมัติวีซ่า

ข้อเสีย คือ

  • จำนวนวันท่องเที่ยวน้อย อยู่ในไทยได้ไม่เกิน 15 วัน
  • ไม่สามารถยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรได้ ยกเว้นกรณีพิเศษที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาขยายเวลาให้ อาทิ เจ็บป่วย โดยจะสามารถยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด)

รายชื่อประเทศที่ตกลงยกเว้นการตรวจลงตรา VOA กับประเทศไทย มีดังนี้

ประเทศที่ใช้สิทธิ VOA 18 ประเทศ 1 เขตเศรษฐกิจ

1. จอร์เจีย (Georgia)
2. ไต้หวัน (Taiwan - China) **เขตเศรษฐกิจ**
3. ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea)
4. รัสเซีย (The Russian Federation)
5. ราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย (Kingdom of Saudi Arabia)
6. ราชอาณาจักร ภูฏาน  (Kingdom of Bhutan)
7. โรมาเนีย (Romania)
8. สหพันธ์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
(Federal Democratic Republic of Ethiopia)
9. สหรัฐเม็กซิโก (The United Mexican States)

10. สาธารณรัฐ คาซัคสถาน (The Republic of Kazakhstan)
11. สาธารณรัฐ ไซปรัส (Republic of Cyprus)
12. สาธารณรัฐ นาอูรู (The Republic of Nauru)
13. สาธารณรัฐ บัลแกเรีย (The Republic of Bulgaria) 
14. สาธารณรัฐ ประชาชนจีน (People’s Republic of China)
15. สาธารณรัฐ มอลตา (The Republic of Malta)
16. สาธารณรัฐ วานูอูตู (The Republic of Vanuatu)
17. สาธารณรัฐ หมู่เกาะฟิจิ (The Republic of Fuji)  
18. สาธารณรัฐ อินเดีย (Republic of India)
19. อุซเบกิสถาน (The Republic of Uzbekistan)

หมายเหตุ : คนต่างด้าวหรือคนไร้สัญชาติที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของ 18 ประเทศ และ 1 เขตเศรษฐกิจ (ไต้หวัน)
ไม่สามารถขอรับ Visa on Arrival ได้ ต้องขอรับการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศก่อนเดินทางเข้ามาเท่านั้น


Visa on Arrival ทำได้ที่ไหน?

  • ยื่นขอได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินของประเทศที่มีข้อตกลงให้ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถทำ Visa on Arrival ได้เท่านั้น

ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ผู้ร้องสามารถขอรับการตรวจลงตรา (Visa on Arrival) ในประเทศไทย มี 48 แห่ง ดังนี้

ด่านตรวจคนเข้าเมือง

 1. กระบี่ ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ำลึกกระบี่ บริเวณ
เขตท่าเรือเจ้าฟ้า บริเวณเขตท่าเรือเกาะลันดาและ
บริเวณเขตสนามบินกระบี่
 2. กาญจนบุรี ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจาก
พรมแดนถึงที่ตั้งกาญจนบุรี
 3. คลองใหญ่
 4. ควนโดน
 5. เชียงของ
 6. เชียงแสน
 7. ตาก ณ บริเวณเขตสนามบิน สุโขทัย
 8. ตากณเส้นทางคมนาคมทางบกจากพรมแดน
ถึงที่ตั้งตาก
 9. ตากใบ
10. ท่าเรือ กรุงเทพ
11. ท่าเรือสงขลา ณ บริเวณเขตท่าเรือน้ำลึกสงขลา
และบริเวณเขตท่าเรือเดินเรือไทย
12. ท่าลี่
13. ท่าอากาศยาน กรุงเทพ
14. ท่าอากาศยาน เชียงราย
15. ท่าอากาศยาน เชียงใหม่
16. ท่าอากาศยาน ตรัง

17. ท่าอากาศยาน ภูเก็ต
18. ท่าอากาศยาน สุราษฎร์ธานี
19. ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ
20. ท่าอากาศยาน หาดใหญ่
21. ท่าอากาศยาน อู่ตะเภา
22. นครพนม ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจาก
พรมแดนถึงที่ตั้งนครพนม
23. น่าน ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจาก
พรมแดนถึงที่ตั้งน่าน
24. บ้านประกอบ
25. บึงกาฬ
26. บูเก๊ะตา
27. เบตง
28. ประจวบคีรีขันธ์ ณ บริเวณเขต
ท่าอากาศยาน หัวหิน
29. ปาดังเบซาร์
30. โป่งน้ำร้อน
31. พัทยา ณ บริเวณเขตท่าเรือสัตหีบ
32. พิบูลมังสาหาร ณ เส้นทางคมนาคมทางบก
จากพรมแดนถึงที่ตั้งพิบูลมังสาหาร
33. ภูเก็ต ณ ทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวมะขาม
และทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวฉลอง

34. ภูสิงห์ ณ เส้นทางคมนาคมทางบกจาก
พรมแดนถึงที่ตั้งภูสิงห์
35. มาบตาพุด ณ บริเวณเขตท่าเรือมาบตาพุด
และทำเลจอดเรือในอ่าวหน้าเมืองระยอง
36. มุกดาหาร
37. แม่สาย
38. ศรีราชา ณ ทำเลจอดเรือในอ่าวอุดมและ
บริเวณเขตท่าเรือแหลมฉบัง
39. สตูล ณ ทำเลจอดเรือใกล้เกาะหลีเป๊ะ
40. สตูล ณ บริเวณเขตท่าเรือด่านศุลกากร
ตำมะลังและบริเวณเขตท่าเรือเจ้ะปิลัง
41. สมุทรปราการ
42. สมุย ณ ทำเลจอดเรือบริเวณอ่าวหน้าทอน
43. สมุย ณ บริเวณเขตท่าอากาศยาน เกาะสมุย  
44. สะเดา
45. สุไหงโก-ลก
46. หนองคาย ณ บริเวณเขตท่าเรือตามชายฝั่ง
แม่น้ำโขง
47. หนองคาย ณ เส้นทางคมนาคมทางบก
จากพรมแดนถึงที่ตั้งหนองคาย
48. อรัญประเทศ

หมายเหตุ : การอนุญาตให้เข้าประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาที่จะอนุญาตให้พำนักในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ดังนั้น คนต่างชาติที่ได้รับวีซ่าแล้วบางรายอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะหรือพฤติการณ์เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

แค่มีเวลาพักร้อน 15 วัน ก็สามารถเที่ยวไทยได้อย่างมีความสุขแล้ว ...

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Wonderful Package ได้เลยค่ะ ทางเรามีทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและบริการทุกท่านตลาดเวลาค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

  • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 
  • กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

บริการ Work Permit & VISA


บทความที่เกี่ยวข้อง :


If foreign tourists would like to apply for the Visa on Arrival (VOA) in Thailand, what are the preparing documents?

外国游客需要进行办理泰国的落地签证(VOA),则必须准备哪些文件?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

หากต้องการแจ้งเกิดบุตรและจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติมีขั้นตอนและแสดงหลักฐานอะไรบ้าง?

ปัจจุบันคนไทยจดสมรสกับชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากและยังมีบุตรกับคนต่างชาติจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าในการแจ้งเกิดบุตรและรับรองบุตร กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ จะยุ่งยากไหม ต้องแสดงหลักฐานและขั้นตอนยังไงบ้าง??

ศบค. ยกเลิกตรวจ RT-PCR ทุกกลุ่ม ก่อนเข้าประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 65 เป็นไปต้น

รัฐบาล มีมติเห็นชอบปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร สำหรับผู้เดินทาง Test & Go (บก น้ำ อากาศ) Sandbox Quarantine (AQ,OQ,SQ) และผู้ควบคุมยานพาหนะ ที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย เดินทางเข้าประเทศไทย ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ทุกกลุ่ม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

หากชาวต่างชาติต้องการกู้เงินธนาคาร เพื่อซื้อทรัพย์สินในประเทศไทยต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบันชาวต่างชาติมาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในไทย หรือ การจดทะเบียนสมรสกับคนไทย ทำให้ต้องการมี บ้าน คอนโดมิเนียม รถยนต์ ในประเทศไทยตอนนี้สามารถให้ชาวต่างชาติกู้ซื้อทรัพย์สินในไทยได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้กู้ว่าต้องการกู้เพื่ออะไร เช่นการกู้เงินเพื่อซื้อคอนโด รถยนต์

กงสุลได้จัดการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม ส่งเสริมนักลงทุนในการเดินทางเข้าประเทศไทย

กรมการกงสุล ได้เปิดประชุมกงสุลโลกผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์​ ณ กรมการกงสุล โดยมีเจ้าหน้าที่กงสุลของไทยจาก 96 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมประชุม โดยการประชุมมีเป้าหมายเพื่อเตรียมพร้อมความเข้าใจมาตรการ​ผ่อนคลายด้านวีซ่าประเภทต่างๆ

ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ??

การขอทะเบียนของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านได้ในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น

มาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

มาตรการช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้โดยสารจองเส้นทางบินในประเทศ จาก 6 สายการบิน เช่น การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน การเปลี่ยนแปลงวันเดินทาง การเปลี่ยนแปลงเส้นทาง และการขอคืนเงิน/เก็บเครดิต

วีซ่าชั่วคราวอเมริกา มีกี่ประเภท??

อยากไปอเมริกาก็ต้องขอวีซ่า แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวีซ่าอเมริกามีหลายประเภท แยกตามวัตถุประสงค์ในการเข้าประเทศ จะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะต้องยื่นขอวีซ่าประเภทไหนไปดูกันค่ะ

การยื่นภาษี ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ผ่านอินเตอร์เน็ต มีขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ในการยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

กรมสรรพากรมีการให้ยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ปัจจุปันประชาชนให้ความสำคัญในการยื่นภาษีออนไลน์เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ แถมยังเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ประเภทของเอกสารที่ต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล มีขั้นตอนและการเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารหลายอย่างที่เป็นเอกสารสาธารณะเลยมีการจัดทำคำแปลเป็น 2ภาษา ให้เป็นเอกสารมาตรฐาน สามารถนำไปใช้ได้เลย (แต่ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติก่อน) ที่จะไปยื่นตามหน่วยงานต่างๆ

หากต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล ขอได้ที่ไหนบ้างและผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

หากต้องการขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร จากกรมการกงสุล ขอได้ที่ไหนบ้างและผ่านช่องทางไหนได้บ้าง การไปยื่นเอกสารเพื่อขอหนังสือรับรองนิติกรณ์เอกสาร สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือการผ่านตัวแทน และมีบริการรับรองเอกสารผ่านทางไปรษณีย์

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!