"นักลงทุนต่างชาติ" จะขอถิ่นที่อยู่ในไทย ต้องทำอย่างไร??
นักลงทุนหรือนักธุรกิจต่างชาติที่ต้องการขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย จะต้องมีคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณา อย่างไร? ใช้เอกสารอะไรบ้าง? Wonderful Package มีคำตอบมาให้ท่านที่ต้องการขอถิ่นที่อยู่ในไทยค่ะ
ก่อนอื่นเลย การขอมีถิ่นที่อยู่ในไทยนั้นไม่ได้เปิดรับให้ยื่นขอได้ตลอด แต่จะมีประกาศเปิดแจ้งรับตามจำนวนโควต้าที่กำหนด (โควต้าประจำปี) จึงจะดำเนินการขอยื่นได้
ข้อจำกัด "จำนวนคนต่างชาติ" ที่จะขอถิ่นที่อยู่ฯ (ข้อมูลล่าสุดของปี 2563)
- คนต่างชาติจะที่มีสัญชาติ จำนวนไม่เกิน 100 คน ของแต่ละประเทศ
- คนต่างชาติที่ไร้สัญชาติ จำนวนไม่เกิน 50 คน
สำหรับปี 2563 การเปิดยื่นรับคำขอ กำหนดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2563 ในวันและเวลาราชการ
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้มีสิทธิที่ได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ฯ
- ถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน
- ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) และได้รับอนุญาตให้อยู่ไทยเป็นปีแล้ว โดยมีรอบเวลาพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจากวันที่ยื่นคำขอ
- กรณ๊ที่ผู้ขอยื่นมีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบประวัติเบื้องก่อน
- ตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่ ด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกประวัติ ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
- ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรที่นำมาแสดง
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หรือไม่
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากลหรือไม่ ที่กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างชาติกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย
- พูดและฟัง ภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ
หลักเกณฑ์การพิจารณาการยื่นคำขอประเภท "เข้ามาเพื่อลงทุน"
- เงินลงทุนที่นำเข้ามา จะต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งแสดงหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในไทย
- การลงทุนจะต้องมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
- ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยแสดงเอกสารหลักฐานการลงทุนที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง หรือ
- ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้ำประกัน โดยแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้น หรือ
- ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ฯลฯ ที่ได้รับอนุมัติหรือรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยแสดงหลักฐานใบหลักทรัพย์ดังกล่าว
- หลังจากวันที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ คนต่างด้าวจะต้องแสดงหลักฐานการถือครองการลงทุน ต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ภายในเดือนกันยายนของแต่ละปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน
- ทางกรรมการ เลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จะตรวจสอบการลงทุนว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วรายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองทราบ ภายในเดือนพฤศจิกายนของแต่ละปี
- หากตรวจสอบภายหลังว่า คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ฯ ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้กำหนดไว้ ทางกรรมการ เลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง จะรายงานต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อสั่งเพิกถอนการอนุญาตได้
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประเภทต่างๆ มีดังนี้
เอกสารสำคัญ :
- แบบคำขอ ตม.9 เพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- สำเนา หนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม ทุกหน้า)
- สำเนา เอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย พร้อมแปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
- หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานและสำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม ทุกหน้า
- หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น ย้อนหลัง 2 ปี และใบสมัครงานพร้อมสัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
- สำเนา ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จำนวน 3 ปี ก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
- สำเนา ภ.ง.ด.1 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
- แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัยและสถานที่ทำงาน แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และสถานที่ทำงาน
- แบบข้อมูลบุคคล และภาพถ่ายคนต่างด้าวภายนอก สถานที่ทำงาน (คนเดียว) ภายในสถานที่ทำงานกับพนักงาน ภายนอกโรงงาน (คนเดียว) ภายในโรงงานกับคนงาน เครื่องจักร และสินค้า (ถ้ามี) ภาพถ่ายคนต่างด้าว ภายนอกที่พักอาศัย ภายในที่พักอาศัย พร้อมครอบครัว (ถ้ามี) จำนวน 10 ภาพ ขนาดโปสการ์ดทุกภาพติดบนกระดาษหัวบริษัท ขนาด A4 พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ
- ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (อายุไม่เกิน 3 เดือน)
- หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย พร้อมแปลเป็นภาษาไทย และผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
เอกสารเพิ่มเติม :
- หนังสือรับรองการโอนเงินเข้ามาในราชอาณาจักรจากธนาคารในประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
- หลักฐานการลงทุนในนามของผู้ยื่นคำขออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีดังนี้
(1) ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ ต้องถือครองการลงทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นคำขอ)
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันที่ยื่นคำขอ)
- สำเนา ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01 ภ.พ.09 และ ภ.พ.20
- สำเนา งบการเงิน (งบดุล และงบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปี ก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร
(2) ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ห้ามโอนกรรมสิทธิ์ จำนวนพันธบัตร หรือจำนวนสิทธิ์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
- หนังสือรับรองการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าวจากธนาคารในประเทศไทย
- สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว พร้อมนำต้นฉบับมาแสดง
(3) ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติหรือรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ห้ามโอนหุ้น โอนกรรมสิทธิ์ จำนวนพันธบัตร หรือจำนวนสิทธิ์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้
- หนังสือรับรองการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว และหลักฐานการลงทุนดังกล่าว พร้อมนำต้นฉบับมาแสดง
- เอกสารอื่นๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ :
- เอกสารส่วนตัว คนต่างด้าวเป็นผู้เซ็นรับรองสำเนา
- เอกสารบริษัท หรือนิติบุคคล ผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือรับรอง เป็นผู้เซ็นรับรองพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- หากเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ จะต้องผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย พร้อมแปลเป็นภาษาไทยด้วย โดยระบุรายละเอียดของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
หากต้องการปรึกษาขอคำแนะนำ ติดต่อได้ที่ Wonderful Package ทางเรามีทีมงานพร้อมให้คำแนะนำและบริการค่ะ
บทความแนะนำ :
บริการแนะนำ :
ขอบคุณข้อมูลจาก
What to do if foreign investors would like to request a residence permit in Thailand?
“外国投资者”将在泰国申請居留权该怎么办?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้