รู้หรือยัง? ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าไทยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยด้วยนะ!!
ชาวต่างชาติทุกคนจะต้องทำกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ก่อนจะเดินทางเข้าประเทศไทย แล้วจะทำกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 ได้ที่ไหน และทำอย่างไร? WonderfulPackage มีข่าวสารมาแนะนำให้กับทุกท่านค่ะ
เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การทำกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19 มีดังนี้
- ชาวต่างชาติที่จะเดินทางมายังประเทศไทย จะต้องเป็นผู้ที่มาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำในการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และจะเดินทางมาพำนักระยะยาวภายในประเทศไทย (Long Stay) โดยต้องยอมรับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางการกำหนด และยินยอมเข้ารับการกักตัวในสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ไม่น้อยกว่า 14 วัน รวมทั้งต้องมีเอกสารหรือหลักฐานต่างๆ สำหรับการเดินทางเข้าประเทศไทยอย่างครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ศบค. และกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
- คุ้มครองกลุ่มชาวต่างชาติที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ถือหนังสือที่รับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (Certificate of Entry)
- มีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทาง (Fit to Fly Health Certificate/ Fit to Travel Health Certificate)
- มีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางดังกล่าวไม่มีเชื้อโรคโควิด-19 โดยใช้การตรวจวิธี RT-PCR โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยจะเริ่มต้นให้ความคุ้มครอง เมื่อผู้เอาประกันภัยเดินทางถึงประเทศไทยและผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองขาเข้าของประเทศไทยแล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองอะไรเราบ้าง??
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- กรณีการเสียชีวิต ที่มีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยที่เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์/ค่าทดแทน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพ และค่าใช้จ่ายในการส่งศพหรืออัฐิกลับประเทศ เท่ากับวงเงินเอาประกันภัย จำนวน 3,200,000 บาท
- การรักษาพยาบาลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า ป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จนเป็นเหตุให้ต้องได้รับการรักษาพยาบาลและรักษาพยาบาลต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาที่คุ้มครองสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือคลินิก ไม่ว่าจะในฐานะผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์หรือค่าทดแทน สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร ตามความจำเป็นและมาตรฐานทางการแพทย์ ตามจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง แต่ไม่เกินวงเงินเอาประกันภัย จำนวน 3,200,000 บาท ประเทศที่มีความเสี่ยงปานกลาง มีอัตราเบี้ยประกันภัยระหว่าง 2,560-23,040 บาท และประเทศที่มีความเสี่ยงสูง มีอัตราเบี้ยประกันภัยระหว่าง 4,800-43,200 บาท ทั้งนี้อัตราเบี้ยประกันภัยดังกล่าวได้รวมอากรแสตมป์และภาษีแล้ว
เมื่อชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามระยะเวลาคุ้มครอง เริ่มต้นตั้งแต่ระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ไปจนถึงสูงสุดไม่เกิน 1 ปี และแบ่งตามความเสี่ยงของประเทศต้นทาง ได้แก่ ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ มีอัตราเบี้ยประกันภัยระหว่าง 1,600-14,400 บาท
แล้วจะซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ไหน??
สำหรับชาวต่างชาติที่สนใจสามารถติดต่อซื้อประกันภัย ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่
- ซื้อประกันภัย ผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาล https://covid19.tgia.org ชาวต่างชาติที่ซื้อประกันภัยผ่านเว็บไซต์ของรัฐบาลนั้น จะได้รับความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการซื้อประกันภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยได้ทันที
- ซื้อประกันภัย ผ่านบริษัทประกันวินาศภัย และบริษัทประกันชีวิต ในรูปแบบ Co-Insurance จำนวน 16 บริษัท ซึ่งประกอบด้วย
2.1 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2.2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.3 บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.4 บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2.5 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.6 บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.7 บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)
2.8 บริษัท แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน)
2.9 บริษัท ฟอลคอนประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.10 บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.11 บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
2.12 บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.13 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.14 บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.15 บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2.16 บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน)
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาดนี้ "กรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19" ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก แถมยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าคุณจะได้รับการดูแลไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ขอบคุณข้อมูลจาก
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้