การขอ Smart Visa มีขั้นตอนอย่างไร?
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของ SMART Visa ไม่ว่าท่านจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศไทย ก็สามารถยื่นขอ SMART Visa หรือขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น SMART Visa ได้ แล้วการขอวีซ่าประเภทนี้มีขั้นตอนอย่างไร Wonderful Package มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับท่านที่สนใจ SMART visa ค่ะ
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับ SMART Visa มีใครบ้าง?
ผู้ยื่นขอ SMART Visa ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติโดยหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมาย เช่น ได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ทุกประเทศและทุกคนนั้นมีสิทธิ์สมัครขอวีซ่าประเภทนี้ได้ หากเป็นไปตามข้อกำหนดของธุรกิจ
ขั้นตอนการขอ SMART Visa มีอะไรบ้าง?
การยื่นขอรับรองคุณสมบัติประกอบการขอ SMART Visa มี 4 ขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 1: ชาวต่างชาติยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานตามประเภทของ SMART Visa (T,I,E,S,O) เพื่อรับรองการเป็นผู้มีสิทธิ
- กรณีอยู่ต่างประเทศ ให้ยื่นผ่านสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ เพื่อส่งไปยังหน่วยงาน SMART Visa ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน OSS
- กรณีอยู่ในประเทศไทย ให้ยื่นที่หน่วยงาน SMART Visa ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน OSS
- ขั้นตอนที่ 2: หลังจากที่ OSS ได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว ก็จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นขอ SMART Visa ภายใน 3 วันทำการ
- ขั้นตอนที่ 3: ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแจ้งผลการพิจารณาส่งกลับ OSS ภายใน 20 วันทำการ
- ขั้นตอนที่ 4: OSS จะแจ้งผลการพิจารณารับรองคุณสมบัติให้กับชาวต่างชาติผู้ยื่นขอ SMART Visa หน่วยงานรับรองคุณสมบัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางาน ภายใน 7 วันทำการ
กระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ ใช้เวลาประมาณ 30 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ OSS ได้รับเอกสารหลักฐานฉบับสมบูรณ์จากผู้ยื่นคำขอ โดยใบสมัครของท่านจะต้องได้รับการอนุมัติจาก BOI สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานอื่นๆ
สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอื่น แล้วมีความประสงค์จะเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น SMART Visa ท่านจะต้องยื่นขอรับการรับรองคุณสมบัติล่วงหน้า อย่างน้อย 90 วัน ก่อนระยะเวลาเดิมสิ้นสุด
หมายเหตุ : ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน หรือ One Stop Service Center for Visa and Work Permit (OSS) อยู่ที่อาคารจัตุรัสจามจุรี
หลังจากได้รับการแจ้งผลผ่านการกลั่นกรองคุณสมบัติ SMART Visa จากศูนย์ SMART Visa (BOI) แล้ว ควรทำอย่างไรต่อ?
- กรณีอยู่ต่างประเทศ ให้ประทับตราตรวจลงตรา SMART Visa (T,I,E,S,O) ที่ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่
- กรณีอยู่ในประเทศไทย ให้ประทับตราตรวจลงตรา SMART Visa (T,I,E,S,O) ที่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (OSS)
ประเภทและหน่วยงานที่รับรอง SMART VISA
ประเภท |
ประเภทของการรับรอง |
หน่วยงานรับรอง |
1. Smart T |
- รับรองผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้าน S&T
- กรณีทำงานในภาคเอกชน - กรณีทำงานในภาครัฐ
- รับรองกิจการว่าอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
- กรณีทำงานในภาคเอกชน - กรณีทำงานในภาครัฐ
|
สวทช., วช., วว., DEPA หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้าง
NIA, DEPA หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้าง
|
2. Smart I |
- รับรองว่าลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิต
หรือการให้บริการและเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
|
สวทช., NIA, DEPA |
3. Smart E |
- รับรองว่าเป็นทำงานในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิต
หรือการให้บริการและเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
|
สวทช., NIA, DEPA |
4. Smart S |
- รับรองการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation)
หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) หรือโครงการอื่นในลักษณะเดียวกัน ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือ DEPA
- ต้องได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐ กรณีที่ ไม่ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ(Incubation)
หรือ โครงการเร่งการเติบโต (Accelerator)
- รับรองว่ากิจการที่จัดตั้งขึ้นอยู่ในอุตสาหกรรม
|
NIA, DEPA
DEPA
NIA, DEPA
|
การขอขยายระยะเวลาการอยู่ต่อภายในประเทศไทยสำหรับผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa อยู่แล้วต้องทำอย่างไร?
ท่านจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอยู่ต่อภายในประเทศไทย ก่อนระยะเวลาเดิมสิ้นสุด 60 วัน ตามขั้นตอนการยื่นขอรับรองคุณสมบัติประกอบการขอ SMART Visa และการขอประทับตราวีซ่าในข้างต้น
การแจ้งที่พักและการรายงานตัวสำหรับผู้ที่ถือ Smart Visa
ชาวต่างชาติผู้ที่ถือ Smart Visa จะต้องแจ้งที่พักอาศัยเมื่อพำนักในประเทศไทย และจะต้องมารายงานตัว (ตม.91) ทุก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทย หรือวันที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งล่าสุด ที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน หรือสถานที่อื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด ทั้งนี้ การแจ้งที่พักอาศัยและรายงานตัว สามารถแจ้งก่อนวันครบกำหนด 15 วัน หรือหลังวันครบกำหนด 7 วัน หากแจ้งล่าช้ากว่ากำหนด ท่านจะโดนค่าปรับตามข้อกำหนดของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
นอกจากนี้ ท่านจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานแสดงสถานภาพและข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทุกๆ ปี หลังจากวันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในประเทศไทย ตามรูปแบบที่หน่วย SMART Visa ได้กำหนดไว้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก
- SMART Visa
- OSS (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)
- OSS (BOI)
How do I apply for a Smart Visa?
申请智能签证 Smart Visa,有哪些流程?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้