ข่าวดี!! ไทยเปิดประเทศรับ 'นักลงทุน/นักธุรกิจต่างชาติ' เข้ามาร่วมลงทุนแล้วนะ
การที่ไทยเปิดช่องการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการจะมาอาศัยหรือลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกเลยก็คือการพยายามรักษาความสมดุลระหว่างประเทศและการรักษาความมั่นคงในประเทศ ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ท้าทายมากในสถานการณ์ของการระบาดโรคโควิด-19 นี้
ผู้ที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต้องมี 3 สิ่งสำคัญ คือ
- หนังสือรับรองการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เรียกว่า "Certificate of Entry (COE)"
- มีเที่ยวบินกึ่งพาณิชย์จากสายการบินที่ร่วมกับรัฐบาล โดยสายการบินเหล่านี้สามารถนำบัตรโดยสารไปจำหน่ายตามเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้กำหนด เพื่อนำคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยได้สะดวกรวดเร็ว
- ต้องลงทะเบียนจองสถานที่กักตัว 14 วัน โดยมีสถานที่กักตัวเข้าร่วมทั้งประเทศ 94 แห่ง และสถานที่กักตัวในระดับจังหวัด อีก 21 แห่ง เพื่อเข้ามาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด - 19 หลังจากนั้นก็เข้าไทยได้
สถานเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทย 190 แห่งทั่วโลก จะพิจารณาและทำการออก หนังสือรับรองสถานภาพพำนัก (COE) เพื่อหาที่ว่างของสถานกักตัว 14 วัน ให้กับผู้ที่เดินทางเข้ามาในไทย
เงื่อนไขและการตรวจลงตราสำหรับชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย จะแบ่งประเภทวีซ่า ได้ดังนี้
- การตรวจลงตราสำหรับชาวต่างชาติที่พักอาศัยระยะยาว สำหรับชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วและเป็นผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ต้องการใช้ชีวิตวัยเกษียณในเมืองไทยแบ่งเป็น
1.1 Visa Non - O ถึง Non - A เป็นชาวต่างชาติทุกสัญชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยหรือสนใจจะลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ สามารถอาศัยในไทยได้ 1 ปี ขยายอายุได้ 1 ปี
1.2 Visa Non - O ถึง Non - X เป็นชาวคนต่างชาติ 14 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) อาทิ อังกฤษ เยอรมนี สหรัฐ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ และกลุ่มสแกนดิเนเวียทั้งหมด สามารถาอาศัยในไทยได้ 5 ปี ขยายอายุได้ 5 ปี
- การตรวจลงตราสำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยระยะกลาง ได้แก่
2.1 Visa Non- B ที่ต้องการเข้ามาติดต่อดูงานหรือมาทำธุรกิจในไทย ที่ไม่เข้าเงื่อนไขมีใบอนุญาตทำงาน(Work Permit) ต้องการดูแนวทางโอกาสทางธุรกิจที่นำไปสู่การลงทุนขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ผู้ยื่นวีซ่าประเภทนี้ยังเป็นนักลงทุนขนาดกลาง เช่นลงทุนซื้ออาคารชุดคอนโดมิเนียม ราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป ผู้สนใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือมีบัญชีในไทยมีหลักทรัพย์ขั้นต่ำ 3 ล้านบาท สามารถาอาศัยในไทยได้ 90 วัน ขยายอายุได้ 1 ปี
2.2 นักท่องเที่ยวแบบมี วีซ่า ท่องเที่ยว รหัส TR ที่จะพำนักอาศัยในระยะสั้นและระยะยาว โดยท่านจะต้องมีบัญชีเงินฝากไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท ย้อนหลัง 6 เดือน จะสามารถาอาศัยในไทยได้ 60 วัน ขยายอายุได้ 30 วัน
- บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจ (APEC Card) เป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่สนใจเข้ามาหาแนวทางทำธุรกิจ ที่ประเทศต้นทางมีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ต่ำ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม สามารถอาศัยในไทยได้ 90 วัน และไม่สามารถขยายอายุได้
- นักท่องเที่ยวพิเศษประเภท Special Tourist VISA (STV) ที่ต้องการอาศัยระยะยาว โดยสามารถอาศัยได้สูงสุด 60 วัน ขยายอายุได้อีก 30 วัน
สถานทูตฯ จะอัพเดทรายชื่อประเทศที่ได้รับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยในทุกๆ 15 วัน ซึ่งการยื่นขอ Visa ในช่วงโควิด-19 ก็ไม่ต่างจากการยื่นขอ Visa ในสถานการณ์ปกติคือ การยื่นขอ Visa จะต้องตรงตามที่ทางการกำหนดในการเดินทางเข้าเข้าประเทศ แต่ในช่วงนี้ที่มีเหตุการณ์การระบาดของโด โควิด-19 จึงจำเป็นต้อง มีหนังสือรับรองสถานภาพพำนัก (COE) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและผู้เดินทางจะรู้สึกมั่นใจในการเดินทางข้ามายังประเทศไทย
ข้อเสนอแนะ
- สำหรับผู้ที่วางแผนจะเดินทาง ควรวางแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 - 15 วันก่อนเดินทาง หากผู้เดินทางยังไม่มี Visa สำหรับเดินทางเข้าประเทศไทย ควรติดต่อสถานทูตฯล่วงหน้า ขณะที่เริ่มทำการลงทะเบียนขอรับ หนังสือรับรองสถานภาพพำนัก (COE) ให้ผ่านก่อน แล้วจึงค่อยจองตั๋วเครื่องบินและลงทะเบียนจอง สถานที่ทางเลือกในการกักตัว เนื่องจากระบบลงทะเบียนจะช่วยยืนยันว่า ผู้เดินทางมีคุณสมบัติตรงตามประเภทที่ได้รับการยกเว้นหรือไม่
- ผู้ที่จะเดินทางควรเตรียมเอกสารเพิ่มเติม เพื่อแสดงต่อสายการบินก่อนเดินทาง เมื่อได้รับ หนังสือรับรองสถานภาพพำนัก แล้ว ผู้เดินทางจะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการตรวจที่ไม่พบว่าติดเชื้อโควิด-19 ระยะเวลาไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทาง, ใบรับรองแพทย์ และจะต้องมีกรมธรรม์ประกันภัยครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 รวมทั้งตามเงื่อนไขที่ขั้นต่ำ 1 แสนดอลลาร์ตามเงื่อนไขด้านสาธารณสุข
บทความเกี่ยวข้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รู้หรือยัง? ชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าไทยต้องทำกรมธรรม์ประกันภัย
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้