การถือหุ้นของชาวต่างชาติ มีขั้นตอนและการแสดงหลักฐานอะไรบ้าง ?
ชาวต่างชาติส่วนใหญ่นิยมเข้าประเทศไทยเพื่อมาทำงาน มาลงทุน หรือมีครอบครัวเป็นคนไทยมีถิ่นที่อยู่ในไทย ทำให้มีข้อสงสัยมากมายว่า หากชาวต่างชาติต้องการทำธุรกิจและถือหุ้นในประเทศไทย จะต้องทำอย่างไร Wonderfulpackage มีข้อแนะนำให้กับชาวต่างชาติที่สนใจจะทำธุรกิจและถือให้ในประเทศไทยค่ะ
การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มี 2 กรณี
กรณีที่ 1 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติไทย คือ คนไทย ถือหุ้นอย่างน้อย 51% และคนต่างชาติ ถือหุ้นไม่เกิน 49% โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทุกอย่างตามที่กฏหมายกำหนด
กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น คือ คนต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน
หมายเหตุ : หากคนต่างชาติถือหุ้นในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ 40-49% หรือต่ำกว่า 40% ของทุนจดทะเบียน แล้วเป็นผู้มีอำนาจลงนามหรือทำการแทนบริษัทจำกัดด้วยทางผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนจะต้องนำส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนและต้องสอดคล้องกับเงินทุนที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายด้วย
หลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน มีดังนี้
- หนังสือรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นจากธนาคารในประเทศไทย
- สำเนา สมุดเงินฝากธนาคาร
- สำเนา ใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนา หลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินทุนที่นำมาชำระค่าหุ้น
ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการต่างชาติที่มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนมาด้วย เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียน
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มีดังนี้
- ตรวจสอบและจองชื่อบริษัทชื่อบริษัทที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปก่อนหน้า เมื่อได้ชื่อ แล้วให้จองชื่อบริษัท ซึ่งจองได้ 2 วิธี
1.1 จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
1.2 จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเข้าไปสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทั้งนี้ ท่านสามารถทำการจองชื่อสำหรับใช้จดทะเบียนบริษัทได้ทั้งหมด 3 ชื่อ รู้ผลภายใน 30นาที เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากล่าช้ากว่านั้นต้องทำการจองใหม่
- ผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์*และ เอกสารประกอบคำขอแล้วนำไปจดทะเบียน
- ผู้ก่อการจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
- ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
- เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
- กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
- เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการบริษัทจะต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ โดยนำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากการประชุมตั้งบริษัท
*ข้อควรรู้ : หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท ระบุขอบเขตต่างๆ ของธุรกิจ โดยสามารถจดทะเบียนบริษัทและหนังสือบริคณห์สนธิได้พร้อมกัน ผู้ดำเนินการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว
ข้อมูลที่ต้องเตรียมมีดังนี้
- ชื่อของบริษัท (ตามใบจองชื่อไว้)
- ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ / สาขา
- วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
- ทุนจดทะเบียน อย่างน้อย 1 ล้านบาท
- ข้อมูลผู้ก่อการ โดยการจดทะเบียนบริษัทนั้นจะต้องมีผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
- ข้อมูลผู้ถือหุ้น เช่น ชื่อ-สกุล สัญชาติ ที่อยู่ และจำนวนผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้ง บุคคลอื่นก็สามารถเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทได้
- ข้อมูลพยาน การจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีพยาน 2 คน
- รายละเอียดการประชุมจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท เช่น ข้อบังคับของบริษัท กรรมการบริษัท ผู้สอบบัญชี เป็นต้น
รายการหลักฐานและเอกสารประกอบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ มี 3 กรณี
กรณี 1 บริษัทเป็นบุคคลธรรมดา
- แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
- สำเนา หนังสือเดินทาง
- สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
- คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
- หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
- แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
- หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
กรณี 2 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
- แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
- สำเนา หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
- หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล
- สำเนา หนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
- สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
- คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
- หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
- แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
- หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
กรณี 3 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
- สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
- คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
- หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
- หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างชาติถือ
- แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
- หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท มีดังนี้
- จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนละ 50 บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
- จดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท
- ออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
- ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
- ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
อย่างไรก็ตาม Wonderfulpackage ขอแนะนำให้ชาวต่างชาติศึกษาเพิ่มเติมให้ดีก่อนว่าบริษัทที่ต้องการจัดตั้งและจดทะเบียนนั้นควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ท่านจะได้เตรียมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ท่านสามารถดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการพัฒนาธุรกิจ หรือหากไม่มั่นใจว่าจะดำเนินการถูกต้องหรือไม่ หรือไม่มีเวลาดำเนินการ ก็แนะนำว่าให้หาสำนักงานช่วยเหลือแทน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก
What are the procedures and documents of foreign shareholders?
外国人的持股,有哪些程序和要提供哪些证据?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้