วัดประจำรัชกาล ๑๐ รัชกาล แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เริ่มต้นรับสิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต ไปไหว้พระประจำรัชกาลทั้ง 10 รัชกาลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และยังได้รำลึกถึงคุณความที่ที่พระองค์ได้ทรงสร้างเอาไว้ให้ลูกหลานมาจนถึงทุกวันนี้ หากยังไม่ทราบว่าวัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลไหนบ้าง เรารวบรวมมาให้ครบทั้ง 10 รัชกาล
วัดประจำรัชกาลที่ ๑
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
เริ่มต้นด้วยวัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เรามักเรียกกันสั้นๆ ว่า วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง โดยทางยูเนสโก้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และยังขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ดังนั้นวัดโพธิ์จึงเปรียบเหมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ อีกทั้งวัดโพธิ์ยังมีเจดีย์มากที่สุด โดยมากถึง 99 องค์ และยังมีพระเจดีย์สี่รัชกาล ของรัชกาลที่ 1-4 ภายในวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๒
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่มักเรียกสั้นๆ ว่า วัดอรุณ หรือ วัดแจ้ง เป็นวัดเก่าแก่โบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 จึงทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด แต่ไม่ทันเสร็จ และมีการสร้างต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 3 4 เรื่อยมา และเป็นวัดที่มีพระปรางค์อันงดงาม โดยรัชกาลที่สี่ได้บูรณะเพิ่มอีกหลายรายการและให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๓
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดจอมทอง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตอนนั้นทรงเป็นาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นมาใหม่ และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ ยศของพระองค์ในขณะนั้น ดังนั้นวัดแห่งนี้จึงได้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 นั่นเอง
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๔
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณีและเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และด้วยเหตุนี้เองวัดแห่งนี้จึงได้รับยกให้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และ ๗
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หมายถึง วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง นับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ และ ๙
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหาร ป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์ และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศ ความแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือมีพระประธาน 2 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และสำคัญ ได้แก่ พระสุวรรณเขต พระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัขกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๘
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเราจะรู้จักกันดีว่าวัดแห่งนี้มีเสาชิงช้าตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดเสาชิงช้า มีองค์พระประธาน 3 องค์ตั้งชื่อร้อยเรียงกันว่า พระศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ และ พระพุทธเสรฏฐมุนี อีกทั้งภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนี
คลิกแผนที่
วัดประจำรัชกาลที่ ๑๐
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต)
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร โดยเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 10 รัชกาลปัจจุบัน มีประวัติว่าเดิมมีคหบดีชาวลาวเป็นผู้สร้าง ชื่อวัดว่าวัดทุ่งสาธิต หลังจากถึงแก่กรรมก็ถูกทิ้งร้างมากว่าร้อยปี และเริ่มมีพระสงฆ์มาประจำวัดนี้อีกครั้งในปี พ.ศ.2506 ต่อมาใน พ.ศ.2508 รัชกาลที่ 9 จึงโปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (พระยศในขณะนั้น) ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ได้พระราชทานนามว่า วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร โดยนามของวัด วชิร มาจาก วชิราลงกรณ์ ธรรม มาจาก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และ สาธิต มาจากนามเดิมพระโสภณวชิรธรรม
คลิกแผนที่
เลาะรั้วเลียบวัง 9 พระราชวัง และวังเก่าใกล้กรุง
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้