ประวัติศาสตร์พม่า รู้จักกับตำแหน่งมเหสีของพม่า
พม่านั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอๆ กับประเทศไทย และกษัตริย์แห่งพม่าก็ได้มีมเหสีหลายพระองค์ โดยได้แบ่งเป็นตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับชั้น
สมัยพระเจ้าอลองพญา แห่งราชวงศ์คองบอง
เป็นราชวงศ์สุดท้ายของประวัติศาสตร์พม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร ซึ่งการสถาปนาพระมเหสีตามตำหนักต่างๆ เป็นธรรมเนียมที่เพิ่งมีขึ้นในสมัยราชวงศ์คองบอง ดังนั้นการระบุตำแหน่งของพระมเหสีเป็นตำหนักต่างๆ จึงเป็นการบันทึกโดยพระราชพงศาวดารที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์คองบอง โดยมีตำแหน่งมเหสีพม่า คือ
1. นันมะดอ พระอัครมเหสี (มเหสีขวา) เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
2. อเลนันดอ พระมเหสีกลาง เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระบรมราชินี
3. มยอกนันดอ พระมเหสีวังเหนือ (มเหสีซ้าย) เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระบรมราชเทวี
4. อานอกนันดอ พระมเหสีวังตะวันตก เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระอัครราชเทวี
5. ตองซองดอ มเหสีใต้ เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระวรราชเทวี
6. มยอกสองดอ มเหสีเหนือ เทียบเท่าตำแหน่ง สมเด็จพระอัครชายาพระสนมเอก
1. ตองชเวเยซอง พระสนมเอกฝ่ายใต้
2. มยอคชเวเยซอง พระสนมเอกผ่ายเหนือ
3. อเลชเวซอง พระสนมเอกกลาง
4. อนอกชเวเยซอง พระสนมเอกตะวันตก
สมัยพระเจ้าบุเรงนอง แห่งราชวงศ์ตองอู
![พม่า](uploads/moxie/Article/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2/myanmar%20%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87.jpg)
ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ยังไม่ได้มีการกำหนดเป็นตำหนักต่างๆ ในประวัติศาสตร์พม่าอย่างชัดเจน แต่จะมีมเหสีประจำตำหนัก ดังต่อไปนี้
1. พระอัครมเหสีตำหนักใต้ ตำแหน่ง มี้พะยากองจี พระอัครมเหสีอดุลศรีมหาราชเทวีเจ้า พระนามเดิมคือ ตะเคงจี (พระพี่นางในพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้) เมื่อถึงสมัยของพระเจ้านันทบุเรง จึงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระพันปีหลวง หรือ ที่ทางพม่าเรียกว่า พระมารดาอินแซะกู
2. พระมเหสีตำหนักเหนือ ตำแหน่ง อมะเย้านาน พระมเหสีจันทาเทวี (ธิดากรุงอังวะ) มีพระธิดาหนึ่งองค์คือ พระนางเมงขิ่นสอ ซึ่งเป็นพระมารดาของ นัดจินหน่อง
3. พระมเหสีตำหนักกลาง ตำแหน่ง อะเลนานดอ พระมเหสีราชเทวี พระนามเดิมสิ่นทวยละ (ธิดาเมืองแปร) มีโอรสพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้านรทาเมงสอ พระเจ้ากรุงเชียงใหม่
พระมเสีตำหนักตะวันตก คือ อเน้านาน ในสมัยของพระเจ้าบุเรงนองไม่มีการแต่งตั้ง
พระมเหสีเล็ก ตำแหน่ง “มี้พะยาเง” มีหลายพระองค์ หนึ่งในนั้นคือ พระสุพรรณกัลยา หรือ “อะเมี้ยวโหย่ง”
แต่ถ้าใครที่ไม่ชอบเดินทางร่วมกันกับผู้อื่นเราขอแนะนำประสบการณ์ในการเดินทางแบบใหม่เรียกว่าการเดินทางแบบเที่ยวส่วนตัวหรือว่า "Group and Go" นั่นเองค่ะ
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้