Q&A ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

สำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการอาศัยอยู่ในประเทศไทยระยะยาว โดยการขอมีถิ่นที่อยู่ในไทยนั้นไม่ได้เปิดรับให้ยื่นขอได้ตลอด แต่จะมีประกาศเปิดแจ้งรับตามจำนวนโควต้าที่กำหนด (โควต้าประจำปี) จึงจะดำเนินการขอยื่นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เช่น มาทำงาน ติดตามครอบครัวมาทำงาน และอื่นๆ หากต้องการขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะต้องดำเนินการอย่างไร คุณสมบัติของผู้มีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาให้มีถิ่นที่อยู่ในไทยมีอะไรบ้าง และหลักการพิจารณาเป็นอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบทุกข้อสงสัยค่ะ
Q : หากใบสำคัญถิ่นที่อยู่สูญหาย ต้องทำอย่างไร?
A : อันดับแรก ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจท้องที่ จากนั้นให้นำเอกสารมายื่นคำร้องขอรับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค
โดยมีเอกสารดังนี้
1.หนังสือเดินทาง
2.ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
3.ทะเบียนบ้าน และ สำเนา 1 ฉบับ
4.ใบแจ้งความของสวถานีตำรวจ
5.รูปถ่าย 4 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
6.ค่าธรรมเนียม
Q : เมื่อใบสำคัญถิ่นที่อยู่ไม่มีพื้นที่ว่าง สำหรับสลักหลังเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะต้องดำเนินการอย่างไร?
A : ต้องยื่นคำร้องขอเปลี่ยนใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค
โดยมีเอกสารดังนี้
1.หนังสือเดินทาง
2.ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
3.ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
4.ทะเบียนบ้าน และสำเนา 1 ฉบับ
5.รูปถ่าย 4 รูป(ขนาด 4X6 ซม.)
6.ค่าธรรมเนียม
Q : การยื่นขอมีถิ่นที่อยู่สามารถยื่นขอประเภทไหนได้บ้าง?
A : ประเภทการยื่นคำขอมีถิ่นที่อยู่ ได้แก่
1. ประเภทเข้ามาเพื่อการลงทุน
2. ประเภทเข้ามาเพื่อทำงาน
3. ประเภทเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น 6 กรณี ดังนี้
3.1 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสผู้มีสัญชาติไทย
3.2 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทย
3.3 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรผู้มีสัญชาติไทย
3.4 กรณีคู่สมรส ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของคู่สมรสที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
3.5 กรณีบุตร ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดาที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
3.6 กรณีบิดาหรือมารดา ขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของบุตรที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
4. ประเภทเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
5. ประเภทกรณีพิเศษเฉพาะราย
Q : เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพี่อกลับเข้ามาอีก และการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างติดต่อที่แผนกใด?
A : คนต่างด้าวต้องติดต่อ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 หรือที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูมิภาค โดยยื่นคำร้องขอสลักหลังแจ้งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก และคำร้องขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Quota Immigrant Visa โดยยื่นเอกสารประกอบดังนี้
1. หนังสือเดินทาง
2. ใบสำคัญถิ่นที่อยู่
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
4. รูปถ่าย 2 รูป (ขนาด 4X6 ซม.)
5. ค่าธรรมเนียมสำหรับสลักหลังแจ้งออกเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก 1,900 บาท ค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจลงตรา Non-Quota Immi9grant Visa 1,900 บาท สำหรับการเดินทางครั้งเดียว และ 3,800 บาท สำหรับเดินทางหลายครั้ง
Q : การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย สามารถให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้หรือไม่?
A : ผู้ขอจะต้องยื่นคำขอด้วยตนเอง (แสดงตัว)
Q : ผู้ที่จะยื่นขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร มีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไร?
A : 1.ถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน
2.ได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigration Visa)
3.ผู้ขอยื่นที่มีอายุ 14 ปี ขึ้นไป เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบประวัติเบื้องก่อน
- ตรวจสอบว่ามีประวัติกระทำผิดหรือไม่ ด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือและกรอกประวัติ ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร
- ตรวจสอบหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรที่นำมาแสดง
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 หรือไม่
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับของตำรวจสากลหรือไม่ ที่กองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4.แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ สินทรัพย์ ความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวของคนต่างชาติกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย
5.ต้องพูดและฟังภาษาไทยได้อย่างเข้าใจ
Q : ชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ที่สามารถยื่นคำขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้?
A : 1.เป็นผู้นําเงินเข้ามาลงทุนเป็นจํานวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยมีหนังสือรับรองจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ซึ่งแสดงหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยและ
2.การลงทุนต้องมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันในกรณีดังต่อไปนี้
- ลงทุนในบริษัทจํากัด หรือ บริษัทมหาชนจํากัด โดยต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการลงทุนซึ่งรับรองโดยหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นจะต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยวัฒนธรรม หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ
- ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ค้ำประกัน โดยแสดงหลักฐานเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรนั้นๆ หรือ
- ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุนเป็นต้น ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมติ หรือรับรองจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์พร้อมกับแสดงหลักฐานใบหลักทรัพย์ดังกล่าวข้างต้น
3.คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่แล้ว ต้องแสดงหลักฐานการถือครองการลงทุนต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเดือนกันยายนของแต่ละปีเป็นระยะเวลาสามปีติดต่อกันนับตั้งแต่วันได้รับอนุญาตให้มีใบสําคัญถิ่นที่อยู่ โดยให้กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบการลงทุนดังกล่าว ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกําหนดไว้หรือไม่แล้วรายงานให้คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองทราบภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
4. เมื่อตรวจสอบในภายหลังพบว่า คนต่างด้าวรายใดที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองกําหนดไว้ให้กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง รายงานตอคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งเพิกถอนการอนุญาตได้
Q : หากลูกต้องการขอมีถิ่นที่อยู่ในไทย เพื่อให้ความอุปการะพ่อหรือแม่ที่มีสัญชาติไทย ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
A : มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นบุตรโดยหลักสายโลหิต
2. พ่อหรือแม่ต้องมีอายุ 50 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคําขอ
3. ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคําขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง
4. บุคคลสัญชาติไทยแสดงความประสงค์ที่จะอยู่ในความอุปการะของคนต่างด้าวที่ยื่นคําข
Q : หากพ่อหรือแม่ต้องการขอมีถิ่นที่อยู่ในไทย เพื่อให้ความอุปการะลูกที่มีสัญชาติไทย ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?
A : มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นพ่อหรือแม่โดยหลักสายโลหิต และมีการจดทะเบียนรับรองบุตร
2. เป็นบุตรที่ยังไม่สมรส และอายุต่ำกว่า 20 ปีหากอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปนับจนถึงวันที่ยื่นคําขอ ต้องมีเหตุผลความจำเป็นที่ยังต้องอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา เช่น กําลังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี โดยมีหลักฐานการศึกษามาแสดง และเป็นกรณีที่ได้ศึกษาต่อเนื่องมาก่อนอายุครบ 20 ปีหรือป่วยจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งต้องนําใบรับรองแพทย์ที่แสดงผลการป่วยจากโรงพยาบาลมาแสดง
3. ผู้ให้ความอุปการะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยไม่น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปีติดต่อกันนับจนถึงวันที่ยื่นคําขอ และแสดงหลักฐานการเสียภาษีโดยถูกต้อง
Q : การขอมีถิ่นที่อยู่ในไทย มีหลักการพิจารณาเป็นอย่างไ?
A : 1.พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานอัยการสูงสุด คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สภาความมั่นคงแห่งชาติ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2.หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวคนต่างชาติกับบุคคลสัญชาติไทย รวมถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และนโยบายของรัฐบาล
3.ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนโยบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและกระทรวงมหาดไทย
Q : การดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
A : 1. เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่ฟังผลรอพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไปครั้งละ 180 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง
2. รับใบนัดหมาย ให้ชาวต่างชาติและผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยมีการทดสอบความสามารถพูดภาษาไทย และฟังภาษาไทย เข้าใจได้ (จะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละสิทธิ์การยื่นคำขอดังกล่าว)
3. ชาวต่างชาติ ที่มีอายุกว่า 40 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้
- พิมพ์ลายนิ้วมือชาวต่างชาติ ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติการกระทำผิดในประเทศไทยหรือไม่
- ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากบัญชีเฝ้าดู (Black List) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
- ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับต่างประเทศ (หมายแดง) จากกองการตรวจต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก
Q&A about Resident’s Visa in Thailand
关于希望在泰王国申请居留权问答集Q&A
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้