หลายๆ คนคงอาจจะเคยสงสัย และสับสนชื่อเรียกระหว่าง วีซ่าทำงานกับใบอนุญาตทำงาน ว่าคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยว่า 2 อย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อชาวต่างชาติจะต้องเข้ามาทำงานในประเทศไทย
ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น จะต้องทำวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงาน Visa Non-B โดยในครั้งแรกวีซ่าจะมีอายุ 90 วัน หากต้องการวีซ่าทำงานระยะเวลาทำงาน 1 ปี ชาวต่างชาตินั้นต้องมีใบอนุญาตทำงานก่อน ถึงจะสามารถต่อวีซ่า 1 ปี ได้
ขั้นตอนการขอวีซ่าเพื่อเข้ามาทำงาน มีดังนี้
- ทำวีซ่า Immigration Non-B ซึ่งหากต่างชาติยังไม่เดินทางเข้ามาประเทศไทย สามารถขอได้ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ
- หากต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วโดยไม่ได้ทำวีซ่า Non-B เข้ามา ต้องการจะเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Non-B ก็สามารถทำได้ที่ สำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมืองแจ้งวัฒนะ
เอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทตรวจตราเพื่อทำงาน NON-B
(อนุญาตไม่เกิน 90 วัน โดยต้องมีระยะเวลาเหลืออยู่มากกว่า 15 วัน ถ้าอยู่เกินไม่สามารถยื่นคำร้องได้)
- แบบคำร้องขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (แบบ ตม.86 เฉพาะคนต่างด้าวที่มี Tourist Visa และ Transit Visa) หรือ
แบบคำร้องขอรับการตรวจลงตรา (แบบ ตม.87 เฉพาะ ผ.15, ผ.30,ผผ.30 และ ผผ.90 เฉพาะคนต่างด้าวที่ไมีมีวีซ่า)
- สำเนาหนังสือเดินทาง (ถ่ายเอกสารหน้าที่มีข้อมูลส่วนตัว , รอยการตรวจลงตรา , ตราขาเข้า , รอยตราอนุญาตการขออยู่ต่อฯ(ถ้ามี) , บัตร ตม.6)
- รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. หรือขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
- ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท
- หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นการจ้างงานคนต่างด้าว และขอความร่วมมือในการขอรับ หรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (มีชื่อ, ตำแหน่ง, ความรู้ความสามารถและขอเปลี่ยน วีซ่าจาก ผ.30 หรือ TR เป็น NON-B) (เรื่อง ขอรับหรือขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา/เรียน ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)
- หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบของกรมการจัดหางาน)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (แสดงฉบับจริง)
- สำเนาใบสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล (แสดงฉบับจริง)
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ภพ.01 + หนังสือบริคณห์สนธิการเพิ่มทุน) (แสดงฉบับจริง)
- สำเนางบการเงินปีล่าสุด รับรองจากกระทรวงพาณิชย์ หรือกรมสรรพากร (กรณียื่นฉบับสำเนาต้องให้กรรมการลงนามและประทับตราบริษัท/หจก. ทุกฉบับ)
- สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) รับรองจากกระทรวงพาณิชย์หรือกรมสรรพากร (กรณียื่นฉบับสำเนาต้องให้กรรมการลงนามและประทับตราบริษัท/หจก. ทุกฉบับ)
- สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงานของคนต่างด้าว ผ่านการรับรองจากสถานทูตและ กองนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ (0-2575-1056-9)
- สำเนารายการภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาของพนักงานคนไทย (ภ.ง.ด.1)(ย้อนหลัง 3 เดือน พร้อมแนบรายชื่อพนักงานคนไทยทั้งหมด)
- หนังสือขอความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, การนิคมอุตสาหกรรมหรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (กรณีได้รับการส่งเสริม BOI)
- แสดงรูปภาพของบริษัทถ่ายให้เห็นอาคาร ป้ายชื่อบริษัท สภาพการทำงานที่มีพนักงานกำลังปฏิบัติงาน, โต๊ะทำงานภายในบริษัท หรือ อาคาร หรือโกดัง ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะงาน 6 – 7 ภาพ
- หากใน ภ.ง.ด.50 (หน้า 5 บรรทัดที่3 ) ไม่มีค่าน้ำ ค่าไฟ ให้แสดงสัญญาเช่า บิลน้ำมัน ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
- แผนที่บริษัท
หมายเหตุ
- เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับรองทุกแผ่นทุกหน้า
- เอกสารของบริษัทฯ หรือห้างฯ กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการลงนามรับรองทุกหน้าทุกแผ่นแล้วประทับตราบริษัทฯ หรือห้างฯ เป็นสำคัญ
- ในการยื่นเอกสารเพื่อขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา กรุณานำเอกสารมายื่นให้ครบและยื่นเอกสารฉบับจริงทุกฉบับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบและดำเนินการ
ใบอนุญาตทำงาน นั้นจะออกให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย ที่มีจุดประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ ประกอบกิจการ หรือเข้ามาเป็นลูกจ้าง ในประเทศไทยนั้น เมื่อต่างชาติได้รับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant Visa B หรือ วีซ่าประเภทธุรกิจแล้ว จำเป็นต้องยื่นขอ ใบอนุญาตทำงาน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานในราชอาณาจักรไทยได้ หรือถ้าเป็นวีซ่าแต่งงาน (Non-Immigrant Non-O) ก็สามารถขอใบอนุญาตทำงานได้เหมือนกัน และเมื่อชาวต่างชาติได้ทำการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa B แล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ชาวต่างชาตินั้นจะต้องไปยื่นขอ ใบอนุญาติทำงาน ได้ที่ กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน (Ministry of Labour) ภายในระยะเวลา 90 วัน หลังจากที่ชาวต่างชาติได้เดินทางมาถึงราชอาณาจักรไทยแล้ว ตามกฎหมายที่ให้พำนักอยู่ได้ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว
เอกสารที่จะใช้ยื่นขอทำใหม่หรือต่ออายุ Work Permit จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง
- แบบฟอร์ม ตท.1 (กรณีทำใหม่) หรือ ตท.5 (กรณีต่ออายุ)
- รูปถ่าย ขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- ใบรับรองแพทย์ (ไม่เป็นโรคต้องห้าม) (ไม่เกิน 6 เดือน)
- ประวัติส่วนตัว วุฒิการศึกษา ประวัติการทำงาน
- หนังสือเดินทาง อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
- Visa Non-B (ก่อนหมดอายุ 45-60 วัน) และ Work Permit (กรณีต่ออายุ)
- หนังสือรับรองจากกระทรวงแรงงาน แจ้งผลอนุญาตให้ทำงาน
- ภงด.91 ของคนต่างชาติ (กรณีต่ออายุ)
- เอกสารสำคัญของบริษัทที่จ้างงาน
- เอกสารที่ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ หรือนายจ้าง
- ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสารที่ยื่นขอ
ชาวต่างชาติหากต้องการมาทำงานในไทยด้วย Visa Non-B จะต้องขอ บ.ต.32 จากไทยก่อน ใช้เวลาดำเนินการ 7-14 วัน หลังจากนั้นนำไปประกอบการยื่นขอ Visa Non-B ที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ หลังจากชาวต่างชาติมี Visa Non-B หรือใบอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานแล้ว ไม่ใช่ว่าจะทำงานได้เลยนะ จะต้องมี Work Permit หรือใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยก่อน หลังจากนั้นให้ดำเนินการยื่นขอ Work Permit ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ณ พื้นที่ของ บริษัทนายจ้างสังกัดอยู่ ภายใน 15-20 วัน จากที่กล่าวมานั้นจึงทำให้เห็นแล้วว่าทั้งวีซ่าทำงานและใบอนุญาตทำงาน มีความแตกต่างกัน แต่ทั้ง 2 อย่างนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความที่เกี่ยวข้อง
What is the difference between a Work Visa and a Work Permit?
工作签证和工作許可证是一样的嗎?
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้