ค้นหาบทความ:

ประเภทของวีซ่า มีเยอะกว่าที่คิด

ประเภทของวีซ่า มีเยอะกว่าที่คิด

หลายท่านคงจะพอรู้กันมาบ้างแล้วว่าวีซ่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร การจะเดินทางไปต่างประเทศ ในบางประเทศจะอนุญาตให้ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศไทยเข้าประเทศนั้นได้ก็ต้องมีการยื่นขอวีซ่าเพื่อเป็นใบผ่านทางเข้าประเทศนั้นๆ รวมไปถึงการที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทย ก็ต้องมีการขอวีซ่าด้วยเช่นกัน เราอาจจะรู้จักประเภทของวีซ่าเพียงไม่กี่ประเภท รู้หรือไม่ว่าวีซ่ามีประเภทอะไรบ้าง ประเภทของวีซ่ามีเยอะกว่าที่คิด ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ประเภท ดังนี้

1. การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร (Transit Visa)

  • เป็นการตรวจลงตราที่ออกให้แก่ คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อการใดการหนึ่งดังต่อไปนี้
    - เพื่อเดินทางผ่านราชอาณาจักร (รหัส TS)
    - เพื่อเล่นกีฬา (รหัส S)
    - เป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C)
  • อายุวีซ่า 3 เดือน
  • ค่าธรรมเนียม 800 บาท ต่อครั้ง
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
  • จำนวนเงิน ที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  • เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - แบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
    - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
    - บัตรโดยสารเครื่องบิน ไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
    - วีซ่าของประเทศที่สามในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (รหัส TS)
    - หนังสือเชิญให้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬา (รหัส S)
    - หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ควบคุมพาหนะหรือเป็นคนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร (รหัส C)
    - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

2. การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist Visa)

  • การตรวจลงตราที่ให้แก่ คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว (รหัส TR)
  • อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน
  • ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ต่อครั้ง
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละ 60 วัน
  • จำนวนเงิน ที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
  • เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    - แบบฟอร์มขอวีซ่าที่กรอกข้อความสมบูรณ์
    - รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน / ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ)
    - หลักฐานที่แสดงว่าจะเดินทางออกจากประเทศไทยหลังจากสิ้นสุดการท่องเที่ยว เช่น บัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ หรือที่จะเดินทางไปยังประเทศที่สาม
    - เอกสารจากบริษัทท่องเที่ยว (กรณีที่เดินทางมากับบริษัททัวร์)
    - ทั้งนี้ อาจขอให้แสดงเอกสารเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ผู้ขอรับการตรวจลงตราด้วย

3. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa)

  • การตรวจลงตราที่ออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการชั่วคราว ดังต่อไปนี้
    - การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (รหัส F)
    - การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (ฺรหัส B)
    - การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (รหัส IM)
    - การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (รหัส IB)
    - การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (รหัส ED)
    - การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (รหัส M)
    - การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (รหัส R)
    - การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (รหัส RS)
    - การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (รหัส EX)
    - การอื่น (รหัส O) ได้แก่
      (1) การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ
      (2) การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี
      (3) การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
      (4) การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกัน กับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ
      (5) การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
      (6) การปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครให้แก่องค์กรการกุศลสาธารณะหรือมูนิธิ/สมาคม
      (7) การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
      (8) การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล
  • อายุวีซ่า
    - 3 เดือน สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ ครั้งเดียว (single entry)
    - 1 ปี สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้ หลายครั้ง (multiple entries)
  • ค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (single entry) และ 5,000 บาท (multiple entries)
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • จำนวนเงิน ที่คนต่างด้าวต้องมีติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นมูลค่าเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยคนละไม่น้อยกว่า 20,000 บาท ครอบครัวละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท
  • เอกสารที่ใช้ยื่นประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่


4. การตรวจลงตราประเภททูต (Diplomatic Visa)

  • การตรวจลงตราที่จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตเท่านั้น
  • ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน
  • ยกเว้นค่าธรรมเนียม
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

5. การตรวจลงตราประเภทราชการ (Official Visa)

  • การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ และผู้ร้องจะต้องถือหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติ (UN Laissez-Passer) ซึ่งเทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น
  • ผู้ร้องจะต้องแสดงหนังสือนำจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ขอ หรือจากหน่วยงาน หรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน
  • ยกเว้นค่าธรรมเนียม
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

6. การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa)

  • การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรีจำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่นนอกจากการเข้ามาประจำการในราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติหน้าที่การทูต หรือกงสุล หรือราชการ
    - การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา ซึ่งประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักรในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ
  • เอกสารประกอบในการขอรับการตรวจลงตรา
    - หนังสือเดินทาง
    - แบบฟอร์มคำร้องขอรับการตรวจลงตราที่กรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมรูปถ่าย
    - หนังสือนำจากสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล/หน่วยราชการ ของประเทศผู้ร้อง หรือจากหน่วยงานหรือองค์กรของสหประชาชาติที่ผู้ร้องสังกัดอยู่ หรือจากหน่วยราชการของไทย โดยหนังสือรับรองจะต้องระบุชื่อ ตำแหน่ง และวัตถุประสงค์การเดินทางให้ชัดเจน
  • อายุวีซ่า 3 เดือน หรือ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple entries)
  • พำนักในราชอาณาจักร ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • ไม่เก็บค่าธรรมเนียม

7. การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเพื่อการพำนักในราชอาณาจักรระยะยาว (Long Stay O-A,O-X)

การตรวจลงตราสำหรับคนต่างชาติซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีบริบูรณ์ ซึ่งประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อการพักผ่อนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

  • คนต่างด้าวทุกสัญชาติ อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (นับถึงวันยื่นคำร้อง)
  • ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
  • ไม่มีประวัติที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทั้งต่อประเทศไทย และประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก
  • มีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนักถาวรในประเทศที่ตนยื่นคำร้อง
  • ไม่เป็นโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรค ในระยะอันตราย โรคเท้าช้าง โรคยาเสพติดให้โทษ โรคซิฟิลิส ระยะที่ 3
  • ไม่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย
  • ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท
  • อายุวีซ่า 90 วันต่อครั้ง

ที่มา: Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand

บริการยื่นวีซ่าออนไลน์


เปิดโผ 46 ประเทศ เข้าไทยได้ไม่ต้องกักตัว

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เนื้อหา ที่เกี่ยวข้อง

รวมคำถามยอดฮิต สัมภาษณ์วีซ่าอเมริกา ตอบยังไงถึงได้วีซ่า 10 ปี

วีซ่าอเมริกาผ่านยากจริงหรือ? บางทีผ่านแต่ก็ให้วันมาแค่นิดเดียว ใครกำลังวางแผนเดินทางไปอเมริกา สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางก็คือการขอวีซ่าอเมริกา ดังนั้นใครกำลังขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกา สัมภาษณ์วีซ่าอเมริกายังไงถึงผ่าน มีโอกาสได้วีซ่าถึง 10 ปี

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าสวีเดน

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศสวีเดน จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่าสวีเดน เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าสวีเดน ดังนี้

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าเบลเยี่ยม

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศเบลเยี่ยม จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเบลเยี่ยม เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าเบลเยี่ยม

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าเนเธอร์แลนด์

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศเนเธอร์แลนด์ จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่าเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าเนเธอร์แลนด์ ดังนี้

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่านอร์เวย์

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศนอร์เวย์ จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่านอร์เวย์ เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่านอร์เวย์

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าฟินแลนด์

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศฟินแลนด์ จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่าฟินแลนด์ เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าฟินแลนด์

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าสาธารณรัฐเช็ค

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐเช็ค จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่าสาธารณรัฐเช็ค เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าสาธารณรัฐเช็ค

10 ประเทศที่ใครๆ ก็อยากไป ถึงต้องขอวีซ่าก็ไม่หวั่น

แต่ถ้าหากครั้งหนึ่งในชีวิตเราจะเดินทางไปต่างประเทศสักครั้ง ก็น่าจะเป็นประเทศในฝัน หรือประเทศที่ติดอันดับจุดหมายปลายทางของโลกที่ใครๆ ก็อยากไป ซึ่งถึงแม้เราอาจต้องยื่นขอวีซ่าก่อนการเดินทาง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะจุดหมายปลายทางที่เราเลือก ย่อมคุ้มค่ากับการเดินทางอยู่แล้ว

มารู้จักชื่อเรียกต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Passport, Visa, Work Permit กันดีกว่า..

หลายคนเคยสงสัยและสับสนกับวิธีเรียกชื่อประเภทต่างๆ ของ Passport, Visa, Work Permit ไม่ว่าจะเป็นทั้งชาวต่างชาติหรือคนไทย ซึ่งรู้ไหมว่าแต่ละตัวมีหลายประเภทมากเลย ใช้งานก็แตกต่างกัน แถมยังมีหลายชื่อเรียกอีกต่างหาก แล้วชาวต่างชาติที่อยากเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องใช้วีซ่าประเภทไหน

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนวิธีการยื่นวีซ่าเดนมาร์ก

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศเดนมาร์ก จำเป็นต้องยื่นขอวีซ่าเชงเก้น วีซ่าเดนมาร์ก เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าไปประเทศได้ โดยมีขั้นตอนและวิธีการในการยื่นวีซ่าเดนมาร์ก

บทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!