ชมมรดกโลกของเกาหลี ตอนที่ 2
วัดบุลกุกซาและคูหาซอกกูรัม (Bulguksa Temple and Seokguram Grotto)
Cr. commons.wikimedia.org
บุลกุกซาเป็นวิหารแห่งดินแดนพระพุทธศาสนาตั้งอยู่กลางพื้นที่ลาดของภูเขาโตฮัมซานในเมืองเกียงชูจังหวัดเกียวซังบุค-โด เริ่มก่อสร้างในสมัยรัชกาลกษัตริย์เกียงด็อกแห่งอาณาจักรซิลลาและเสร็จสมบูรณ์ในปี 774 โดยการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีคิม แท -ซอง (Prime Minister Kim Dae-seong)
วัดบุลกุกซารวมเอาประกายแห่งสถาปัตยกรรมชั้นครูและศาสตร์แห่งอาณาจักรซิลลาในศตวรรษที่ 8 ในบรรดาสถาปัตยกรรมชิ้นเอกต่างๆนั้น โซกกาตับ (Seokgatap) และทาโบตับ (Dabotap) เป็นที่เด่นสะดุดตาที่สุดเพื่อเป็นการอุทิศให้แก่องค์พระศากยมุนีและพระ พุทธรัตนะ (พระพุทธแห่งศฤงคารอันเหลือล้น) เจดีย์ 2 องค์นี้เป็นตัวแทนของพระพุทธซึ่งสถิตย์อยู่ในวิหารเป็นอุทาหรณ์แห่งวัตถุประสงค์ของชาวซิลลาในอันที่จะรวบรวมความเป็นเลิศของพุทธศาสนาไว้ในโลกา
คูหาซอกกูรัมซ่อนตัวอยู่ในเนินลาดทางทิสตะวันออกของยอดเขาโตฮัมซานเป็นกุฏิอันศักดิ์สิทธิ์ของวัดบุลกุกซาสร้างขึ้นโดยคิมแท-ซอง กุฏิหินแกรนิตเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาในพระศาสนา วิชาการด้านสถาปัตยกรรมรังสรรค์ด้วยฝีมืออันหมดจดของชาวซิลลา
คูหาซอกกูรัมประกอบด้วยห้องพักคอยซึ่งมีรูปแกะสลักนูนของ 8 เทพผู้พิทักษ์ และวัชรภานี (Vajrapani) 2 องค์ ตามทางเดินสั้นๆนั้น มีสลักเสลารูปเทวกษัตริย์ 4 พระองค์ประดับไว้และศาลาทรงกลมตอนกลางเป็นที่ประดิษฐานของพระประธานพระศากยมุนีทัธคัตกตา (Shakyamuni Tathagata) (องค์อวตารแห่งความเป็นจริง) ตามส่วนล่างของกำแพงรูปวงกลมมีรูปแกะสลักนูนขององค์พระอวโลกิเตศวร สาวกทั้งสิบ มันชุศรี (Manjusri) สักการะเทวนัม (Sakradevanam) อินทรา (Indra) มหาพราหมณ์ (Mahabrahmandah) และสามันตะภัทร (Samantabhadra) ที่อยู่สูงขึ้นไปประมาณระดับสายตามีช่องเจาะกำแพงไว้ 10 ช่อง แต่ละช่องเป็นที่ตั้งบูชาพระโพธิสัตว์ องค์พระประธานประดิษฐานอยู่ใต้หลังคาโค้งมีพระโอษฐ์ยิ้มด้วยพระเมตตาอย่างเยือกเย็น ทำให้เห็นถึงความเป็นเลิศของมนุษย์ที่จะถ่ายทอดผ่านทางการแกะสลักหินเป็นเสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้ากำลังทรงเทศนาอยู่ในทุกขณะ ทรงสั่งสอนเกี่ยวกับความดีของมนุษย์ที่ติดตัวมาด้วยสันดาน
แหล่งประวัติศาสตร์เกียงชู (Gyeongju Historic Areas)
Cr. disanthegioi.info
เกียงชูและบริเวณใกล้เคียงได้เล่าเรื่องราวและแสดงร่องรอยทางวัฒนธรรมแห่งความรุ่งโรจน์ซึ่งเบ่งบานและเสื่อมถอยในยุคอาณาจักรซิลลา (57 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 935) ทางตอนใต้ของเมืองและบริเวณโดยรอบมีหลุมฝังศพของพระราชวงศ์หลายแห่งและสิ่งหลงเหลืออยู่ของพุทธศาสนาซึ่งทำให้ได้เห็นสุดยอดแห่งความงดงามของศิลปะและวัฒนธรรม
แหล่งประวัติศาสตร์เกียงชู ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขานัมซานและทรัพย์สมบัติทางวัฒนธรรมเป็นแหล่งรวมแห่งตัวอย่างอันเด่นชัดของพุทธศาสนาในเกาหลีในรูปแบบของการแกะสลัก ภาพนูน เจดีย์ และซากปรักหักพังของวิหารและพระราชวังในระหว่างศตวรรษที่ 7 ถึง 10
แนวทิวเขานัมซาน (Mt. Namsan Belt)
ก่อนที่พุทธศาสนาจะเผยแพร่เข้ามาสู่อาณาจักรซิลลานั้นทิวเขานัมซานแห่งเมืองเกียงชูได้รับแรงศรัทธาให้เป็นหนึ่งในห้าของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเกาหลี โดยการเผยแพร่ของพุทธศาสนาภูเขาแห่งนี้ได้กลายมาเป็นตัวแทนของพระสุเมรุ ภูเขาแห่งสวรรค์ในดินแดนแห่งพุทธศาสนา
แนวโวลซอง (Wolseong Belt)
ณ ที่แห่งนี้คือป่าเยริม (Gyerim Woods) เป็นที่เล่าขานต่อกันมาว่าเป็นสถานที่เกิดของ คิม อัล-จิ (Kim Al-ji) ผู้เป็นต้นสกุลคิม ผู้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์เกือบทุกพระองค์ของอาณาจักรซิลลา สถานที่สำคัญของทิวเขาแห่งนี้คืออิมแฮชอน (Imhaejeon) สถานที่ปรักหักพังของปราสาทชั้นรองซึ่งได้มีงานจัดเลี้ยงต่างๆของราชสำนักเป็นประจำซึ่งจัดขึ้นบริเวณรอบๆ สระน้ำที่ได้รับการ ตกแต่งอย่างสวยงามและ หอเชิมซองแท (Cheomseongdae) อันเป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออก
แนวฮวางยองซา (Hwangyeongsa Belt)
สถานที่ตั้งวิหารฮวางยองซา (Hwangyeongsa) และบุนฮวางซา (Bunhwangsa) ซึ่งสื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสง่างามของวิหารโบราณของเกาหลีได้ในชั่วขณะหนึ่ง
แนวซันซอง (Sanseong Belt)
ซันซอง (Sanseong) (หมายถึงเขาป้อมปราการ) ทิวเขาที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ป้อม เมียงฮวาลซันซอง (Myeonghwalsanseong Fortress) มีการประมาณการว่าได้ก่อสร้างในศตวรรษที่ 4 ก่อสร้างด้วยวิธีการที่ทันสมัยในขณะนั้นซึ่งต่อมาได้สืบทอดต่อไปยังญี่ปุ่น
แนวอุทยานตูมูลี (Tumuli Park Belt)
จากมหาสุสานของราชวงศ์ซิลลาและเนินหลุมศพของบรรดาขุนนางได้มีการขุดค้นมหาสมบัติที่ยังคงถูกฝังอยู่กันอย่างกว้างขวางรวมถึงมงกุฎทองคำ จิตรกรรมภาพเขียนของเชินมาโด (Cheonmado) และพลอยสีฟ้า (ไพฑูรย์) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแก่นแท้ของวัฒนธรรมของซิลลา
ชมมรดกโลกของเกาหลี ตอนที่ 3
แชร์ บทความนี้
พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้