แพ็กเกจโปรแกรมทัวร์ท่องเที่ยวเสียมเรียบ

รายการโปรแกรมทัวร์ทั้งหมดสำหรับเสียมเรียบ
Like/Share:


ทัวร์เสียมเรียบ เที่ยวเสียมเรียบ

ทัวร์เสียมเรียบ เที่ยวเสียมเรียบ

เสียมราฐ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เสียมเรียบ โดยที่เสียมเรียบเป็นเมืองๆหนึ่งของประเทศกัมพูชา เป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (คล้ายๆกับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) เสียมเรียบมีประชากรอาศัยอยู่ราวๆ 171,800 คน เสียมเรียบเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม และปราสาทอื่นๆเป็นส่วนหนึ่งของพระนคร เป็นมรดกโลกของกัมพูชาด้วยเช่นกัน ทัวร์เสียมเรียบ เที่ยวเสียมเรียบ


การปกครอง

มพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2547 และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

bพรรคการเมืองสำคัญมี 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) หัวหน้าพรรคคือ สมเด็จเจีย ซิม รองหัวหน้าพรรคคือ สมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปค (National United Front for an Independent, Neutral, Peaceful and Cooperative Cambodia: FUNCINPEC) หัวหน้าพรรคคือ นายเชียว พุธ รัศมี และพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party: SRP) หัวหน้าพรรคคือ    นายสม รังสี ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียวทำให้สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกสมัย

bรัฐสภาของกัมพูชาเป็นสภาคู่ ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร ( National Assembly) ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 120 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยทางตรงและลับ มีวาระ 5 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 123 คน และมีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นประธาน กับ วุฒิสภา (Senate)ที่มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์2คนเลือกจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากโดยเปรียบเทียบ 2 คนและที่เหลือมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม มีวาระ 6 ปี (ปัจจุบันมีสมาชิก 61 คน ) และมีสมเด็จ เจีย ซิม เป็นประธาน


การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก

จากแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจตอนใต้มีโครงข่ายที่มีเส้นทางถนนผ่าน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ที่เชื่อมโยงระบบการค้า การลงทุน และระบบเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศเข้าด้วยกัน ให้มีความสอดคล้องและเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเส้นทางถนนในประเทศไทย คือเส้นทางจากกรุงเทพมหานครถึงบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นชายแดนไทย-กัมพูชา รวมระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร และผ่านด่านชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปอยเปต ผ่านตอนกลางของประเทศและไปสิ้นสุดที่ชายแดนประเทศกัมพูชาที่ด่านบาเวท จังหวัดสวายเรียง โดยอาศัยเส้นทางถนน 3 เส้นหลักของประเทศคือ ทางหลวงหมายเลข 5 ทางหลวงหมายเลข 6 และทางหลวงหมายเลข 1 รวมระยะทางประมาณ 560 กิโลเมตร เข้าสู่ตอนใต้ของเวียดนาม

สำหรับทางหลวงหมายเลข 6 มีระยะทางตามเส้นทางประมาณ 416 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อการขนส่งผู้โดยสารทางถนนระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นเส้นทางไปสู่ปราสาทนครวัดและนครธม เส้นทางจาก ศรีโสภณถึง จังหวัดเสียมเรียบมีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ในปัจจุบันสภาพเส้นทางได้มีการปรับปรุงแล้ว ทำให้สามารถใช้ความเร็วเฉลี่ยได้ประมาณ 40-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งมีรถประจำทางวิ่งให้บริการ และมีแท็กซี่ให้เช่า บริการส่งนักท่องเที่ยวและประชาชน

สำหรับเส้นทางจากจังหวัดเสียมเรียบไปยังกรุงพนมเปญจะผ่านจังหวัดกำปงธม ใช้เป็นเส้นทางในการสัญจรของประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยวจากเวียดนามเท่านั้น ระยะทางในช่วงนี้มีความยาวประมาณ 326 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจรที่สามารถใช้ความเร็วในการเดินทางประมาณ 60-70 กิโลเมตร/ชั่วโมง และประมาณ 40-50 กิโลเมตรในบริเวณชุมชน โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมงสำหรับการโดยสารรถบัส และ 4.5-6 ชั่วโมงสำหรับการโดยสารรถแท็กซี่

นอกจากนี้ ตามกรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Sub region) ทำให้เกิดการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย กัมพูชาและเวียดนาม โดยการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 (ช่องสะงำ-อัลลองเวง-จังหวัดเสียมเรียบ) ระยะทาง 138 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่างอีสานใต้ของไทยกับจังหวัดเสียมเรียบ เพื่อให้การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่าง 2 ประเทศสะดวกขึ้น ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไทยกว่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 โดยที่ถนนสายนี้ได้ส่งผลให้การขนส่งสินค้าและธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติสามารถใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง จากช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ ถึง จังหวัดเสียมเรียบ เพื่อชมความงามของปราสาทหินนครวัด นครธมได้ ทั้งนี้ ยังสามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนบริเวณเส้นทางการสัญจรทั้งในไทยและกัมพูชาอีกด้วย

การขนส่งทางน้ำ

แม้ว่าถนนหลายสายในกัมพูชาได้รับการพัฒนาจนมีสภาพการใช้งานได้ดีกว่าอดีต แต่ปัจจุบันการคมนาคมทางน้ำยังคงได้รับความนิยมค่อนข้างมากในกัมพูชา ทั้งนี้ โตนเลสาบถือเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญซึ่งเชื่อมโยงระหว่างกรุงพนมเปญ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต จังหวัดกัมปงชนัง และจังหวัดกัมปงทม ที่ปลายทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโตนเลสาบไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสักที่กรุงพนมเปญ สามารถโดยสารเรือเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง


สถานะทางเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดเสียมเรียบพึ่งพาภาคเศรษฐกิจหลักประกอบด้วย การท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การทำประมง และการทำเหมืองแร่ ดังนี้

  1. การท่องเที่ยว จังหวัดเสียมเรียบมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะปราสาทนครวัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก ซึ่งปราสาทนครวัดสร้างโดยกษัตริย์สุริยะวรมันที่ 2 ของอาณาจักรขอมโบราณ (ประมาณช่วงปี พ.ศ. 1680-1750) โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อบูชาพระวิษณุ และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ เมืองพระนครหลวง ลานช้างหรือสนามหลวง ปราสาทบายน แห่งเมืองนครธม ปราสาทบาปวน ปราสาทตาแก้ว ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายสรี ปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพิมานอากาศ พระราชวังหลวง โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าบริเวณเดียวกับกำแพงเมืองและคูเมือง บริเวณเลียบริมฝั่งแม่น้ำเสียมเรียบ เป็นต้น
    ด้วยการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาจังหวัดเสียมเรียบจึงเป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2533 ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวมีความสำคัญมากในจังหวัดเสียมเรียบเนื่องจากเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน บริเวณใกล้เคียง ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ ดึงดูดการลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนมากมาย (เช่น การบริการ หัตถกรรม เป็นต้น) จังหวัดเสียมเรียบมีโรงแรมประมาณ 115 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมของชาวต่างชาติ และมีเกสเฮาส์กว่า 200 แห่ง

  2. การประมง จากการที่พื้นที่ของจังหวัดเสียมเรียบส่วนหนึ่งติดกับโตนเลสาป การประมงจึงเป็นอีกอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดเสียมเรียบ โดยผลผลิตจากการประมงน้ำจืดสูงถึง 22,580 ตันต่อปี และมีการเลี้ยงจระเข้น้ำจืดกว่า 50,020 ตัว สามารถส่งออกผลผลิตจากการประมงได้กว่า 4,400 ตันต่อปี

  3. การเกษตรกรรม จังหวัดเสียมเรียบมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 193,000 เฮกตาร์ แบ่งเป็น นาปี 19,214 เฮกตาร์ และนาปรัง 102,989 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 1.4 ตันต่อเฮกตาร์ และมีพื้นที่อุตสาหกรรมการเกษตร 3,050 เฮกตาร์ พื้นที่สวนผลไม้ 7,200 เฮกตาร์ พื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ (เช่น ถั่วเขียว) 11,000 เฮกตาร์ สำหรับด้านปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโคและกระบือจำนวน 276,182 ตัว สุกร 130,094 ตัว และสัตว์ปีก 790,778 ตัว
  4. การทำเหมืองแร่ ในจังหวัดเสียมเรียบมีการทำเหมืองดินเหนียวที่ Phnom Krom และเหมืองแกรนิตที่ Phnom Kchom

ลงทะเบียนรับข่าวสาร WonderfulPackage วันนี้!

รับสิทธิพิเศษและส่วนลดมากมาย เหนือกว่าใคร!