Like/Share:
ทัวร์เสียมเรียบ เที่ยวเสียมเรียบ
เสียมราฐ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เสียมเรียบ โดยที่เสียมเรียบเป็นเมืองๆหนึ่งของประเทศกัมพูชา เป็นเมืองเอกของจังหวัดเสียมราฐ (คล้ายๆกับอำเภอเมืองของจังหวัดในประเทศไทย) เสียมเรียบมีประชากรอาศัยอยู่ราวๆ 171,800 คน เสียมเรียบเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม และปราสาทอื่นๆเป็นส่วนหนึ่งของพระนคร เป็นมรดกโลกของกัมพูชาด้วยเช่นกัน ทัวร์เสียมเรียบ เที่ยวเสียมเรียบ
การปกครอง
มพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2547 และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี
พรรคการเมืองสำคัญมี 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) หัวหน้าพรรคคือ สมเด็จเจีย ซิม รองหัวหน้าพรรคคือ สมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปค (National United Front for an Independent, Neutral, Peaceful and Cooperative Cambodia: FUNCINPEC) หัวหน้าพรรคคือ นายเชียว พุธ รัศมี และพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party: SRP) หัวหน้าพรรคคือ นายสม รังสี ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียวทำให้สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกสมัย
รัฐสภาของกัมพูชาเป็นสภาคู่ ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร ( National Assembly) ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 120 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปโดยทางตรงและลับ มีวาระ 5 ปี ปัจจุบันมีสมาชิก 123 คน และมีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์เป็นประธาน กับ วุฒิสภา (Senate)ที่มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์2คนเลือกจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากโดยเปรียบเทียบ 2 คนและที่เหลือมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม มีวาระ 6 ปี (ปัจจุบันมีสมาชิก 61 คน ) และมีสมเด็จ เจีย ซิม เป็นประธาน
การคมนาคมขนส่ง
การขนส่งทางบก
จากแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจตอนใต้มีโครงข่ายที่มีเส้นทางถนนผ่าน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ที่เชื่อมโยงระบบการค้า การลงทุน และระบบเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศเข้าด้วยกัน ให้มีความสอดคล้องและเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเส้นทางถนนในประเทศไทย คือเส้นทางจากกรุงเทพมหานครถึงบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นชายแดนไทย-กัมพูชา รวมระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร และผ่านด่านชายแดนไทย-กัมพูชาที่ปอยเปต ผ่านตอนกลางของประเทศและไปสิ้นสุดที่ชายแดนประเทศกัมพูชาที่ด่านบาเวท จังหวัดสวายเรียง โดยอาศัยเส้นทางถนน 3 เส้นหลักของประเทศคือ ทางหลวงหมายเลข 5 ทางหลวงหมายเลข 6 และทางหลวงหมายเลข 1 รวมระยะทางประมาณ 560 กิโลเมตร เข้าสู่ตอนใต้ของเวียดนาม
สำหรับทางหลวงหมายเลข 6 มีระยะทางตามเส้นทางประมาณ 416 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อการขนส่งผู้โดยสารทางถนนระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นเส้นทางไปสู่ปราสาทนครวัดและนครธม เส้นทางจาก ศรีโสภณถึง จังหวัดเสียมเรียบมีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ในปัจจุบันสภาพเส้นทางได้มีการปรับปรุงแล้ว ทำให้สามารถใช้ความเร็วเฉลี่ยได้ประมาณ 40-50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งมีรถประจำทางวิ่งให้บริการ และมีแท็กซี่ให้เช่า บริการส่งนักท่องเที่ยวและประชาชน
สำหรับเส้นทางจากจังหวัดเสียมเรียบไปยังกรุงพนมเปญจะผ่านจังหวัดกำปงธม ใช้เป็นเส้นทางในการสัญจรของประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยวจากเวียดนามเท่านั้น ระยะทางในช่วงนี้มีความยาวประมาณ 326 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจรที่สามารถใช้ความเร็วในการเดินทางประมาณ 60-70 กิโลเมตร/ชั่วโมง และประมาณ 40-50 กิโลเมตรในบริเวณชุมชน โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมงสำหรับการโดยสารรถบัส และ 4.5-6 ชั่วโมงสำหรับการโดยสารรถแท็กซี่
นอกจากนี้ ตามกรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Sub region) ทำให้เกิดการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย กัมพูชาและเวียดนาม โดยการปรับปรุงถนนหมายเลข 67 (ช่องสะงำ-อัลลองเวง-จังหวัดเสียมเรียบ) ระยะทาง 138 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่างอีสานใต้ของไทยกับจังหวัดเสียมเรียบ เพื่อให้การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่าง 2 ประเทศสะดวกขึ้น ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไทยกว่า 1,300 ล้านบาท ซึ่งแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 โดยที่ถนนสายนี้ได้ส่งผลให้การขนส่งสินค้าและธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติสามารถใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง จากช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ ถึง จังหวัดเสียมเรียบ เพื่อชมความงามของปราสาทหินนครวัด นครธมได้ ทั้งนี้ ยังสามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับประชาชนบริเวณเส้นทางการสัญจรทั้งในไทยและกัมพูชาอีกด้วย
การขนส่งทางน้ำ
แม้ว่าถนนหลายสายในกัมพูชาได้รับการพัฒนาจนมีสภาพการใช้งานได้ดีกว่าอดีต แต่ปัจจุบันการคมนาคมทางน้ำยังคงได้รับความนิยมค่อนข้างมากในกัมพูชา ทั้งนี้ โตนเลสาบถือเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญซึ่งเชื่อมโยงระหว่างกรุงพนมเปญ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดโพธิสัต จังหวัดกัมปงชนัง และจังหวัดกัมปงทม ที่ปลายทะเลสาบด้านตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโตนเลสาบไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงและแม่น้ำบาสักที่กรุงพนมเปญ สามารถโดยสารเรือเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
สถานะทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดเสียมเรียบพึ่งพาภาคเศรษฐกิจหลักประกอบด้วย การท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การทำประมง และการทำเหมืองแร่ ดังนี้
- การท่องเที่ยว จังหวัดเสียมเรียบมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะปราสาทนครวัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและยังได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก ซึ่งปราสาทนครวัดสร้างโดยกษัตริย์สุริยะวรมันที่ 2 ของอาณาจักรขอมโบราณ (ประมาณช่วงปี พ.ศ. 1680-1750) โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อบูชาพระวิษณุ และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ เมืองพระนครหลวง ลานช้างหรือสนามหลวง ปราสาทบายน แห่งเมืองนครธม ปราสาทบาปวน ปราสาทตาแก้ว ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายสรี ปราสาทพนมบาแค็ง ปราสาทพิมานอากาศ พระราชวังหลวง โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าบริเวณเดียวกับกำแพงเมืองและคูเมือง บริเวณเลียบริมฝั่งแม่น้ำเสียมเรียบ เป็นต้น
ด้วยการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว การพัฒนาจังหวัดเสียมเรียบจึงเป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2533 ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวมีความสำคัญมากในจังหวัดเสียมเรียบเนื่องจากเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน บริเวณใกล้เคียง ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ ดึงดูดการลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสร้างงานให้แก่ประชาชนมากมาย (เช่น การบริการ หัตถกรรม เป็นต้น) จังหวัดเสียมเรียบมีโรงแรมประมาณ 115 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมของชาวต่างชาติ และมีเกสเฮาส์กว่า 200 แห่ง
- การประมง จากการที่พื้นที่ของจังหวัดเสียมเรียบส่วนหนึ่งติดกับโตนเลสาป การประมงจึงเป็นอีกอาชีพหลักของประชาชนในจังหวัดเสียมเรียบ โดยผลผลิตจากการประมงน้ำจืดสูงถึง 22,580 ตันต่อปี และมีการเลี้ยงจระเข้น้ำจืดกว่า 50,020 ตัว สามารถส่งออกผลผลิตจากการประมงได้กว่า 4,400 ตันต่อปี
- การเกษตรกรรม จังหวัดเสียมเรียบมีพื้นที่เพาะปลูกข้าว 193,000 เฮกตาร์ แบ่งเป็น นาปี 19,214 เฮกตาร์ และนาปรัง 102,989 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตเฉลี่ย 1.4 ตันต่อเฮกตาร์ และมีพื้นที่อุตสาหกรรมการเกษตร 3,050 เฮกตาร์ พื้นที่สวนผลไม้ 7,200 เฮกตาร์ พื้นที่เพาะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ (เช่น ถั่วเขียว) 11,000 เฮกตาร์ สำหรับด้านปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโคและกระบือจำนวน 276,182 ตัว สุกร 130,094 ตัว และสัตว์ปีก 790,778 ตัว
- การทำเหมืองแร่ ในจังหวัดเสียมเรียบมีการทำเหมืองดินเหนียวที่ Phnom Krom และเหมืองแกรนิตที่ Phnom Kchom