Like/Share:
ทัวร์สวิส เที่ยวสวิส
สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) หรือชื่ออย่าเป็นทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation) สวิสเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเล สวิวตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศษ ออสเตรีย และลิกเทนสไตน์ สวิสเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นกลางทางการเมืองสูง และอีกทั้งสวิสยังเป็นที่ตั้งของนานาองค์กรณ์นานาชาติหลายแห่ง
ภูมิศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์
สวิสเซอร์แลนด์มีพื้นที่กว่า 70% ที่เป็นภูเขานั่นคือ เทือกเขารแอลป์ แม่น้ำที่สำคัญของสวิสคือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำอิน และแม่น้ำทิชิโน่ ด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของสวิสได้แก่ หินแกรนิต หินปูน และหินธรรมดาเท่านั้น
ประวัติศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ราว 10,000 ปีก่อนคริสตกาล พวกคนกลุ่มเร่ร่อนไร้ถิ่นที่อยู่อาศัยต่างย้ายถิ่นฐานกันมายังเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันได้กลายเป็นใจกลางของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ครั้งแรก (Graubünden) แล้วก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในอีก 400 ปีให้หลัง ก็มีชนเผ่าเซลท์ (Celt) ต่างพากันย้ายถิ่นฐานมาจากทางเยอรมันตอนใต้สู่ที่ราบลุ่มในตอนกลางของสวิสมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้นด้านทิศตะวันออกของสวิสจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Raetia และทางด้านตะวันตกครองครองโดยชาว Helvetii นอกนั้นยังมีเผ่าอื่นๆที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายทั่วประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้แก่ ชนเผ่า Lepontier แคว้น Tessin เผ่า Seduner ในเขต Wallis ทางด้านทะเลสาปเจนีวา
เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน ใน 58ปีก่อนคริสตกาลโดยประมาณ โดยการนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้โจตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่นๆ รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน หลังจากนั้นก็ได้มีการเริ่มก่อสร้างถนนและออกแบบผังเมืองขึ้นใหม่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่นเมือง Basel, Chur, Geneve และ Zurich เป็นต้น และในปัจจุบันมีเมือง Avenches เป็นศูนย์กลางของสวิส
เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคปลายของโรมัน ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเข้ามาเผยแผ่และมีบทบาทมากขึ้นในประเทศ และได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งบิชอป (Bishop) ขึ้นตามเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็จะล่มสลายลงในช่วงนี้นั่นเอง
ถายหลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อยๆเสื่อมลง ก็จะมีชนเผ่า Burgundian เข้ามาตั้งรกรากและยึดครองบริเวณ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ทะเลสาปเจนีวา และการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆจะมีพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทตามเมืองต่างๆ หลังจากนั้นได้มีการสร้างวัดขึ้นแห่งแรกที่เมือง St. Gallen และ Zurich
ยุคของอดีตสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์
การก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่างจริงจังและเป็นทางการนั้นเริ่มขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1291 เมื่อ 3 มณฑลในเขตเทือกเขาแอลป์ได้แก่ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้มีการรวมตัวก่อตั้งเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Confederation) โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ก็ได้มีการทำสงครามกันขึ้นเรื่อยมา ปี 1315 หลังจากนั้นก็มีเมืองที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอดีตสหพันธรัฐสวิสได้แก่ Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ได้มีการเรียกชื่อกลุ่มนี้ว่า Schwyz หลังจากนั้นก็ยังมีการรวมตัวของเมืองอื่นๆเรื่อยมา จนในปีค.ศ. 1513 ก็สิ้นสุดการเข้าร่วมกลุ่ม ซึ่งนับรวมได้ทั้งหมด 13 มณฑล
ฝรั่งเศษได้เข้ามามีบทบาทในยุโรปมากขึ้น และกองทัพนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็ได้เข้ามาครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และตั้งชื่อใหม่เป็นสาธารณรัฐเฮลเวติค นั่นจึงทำให้ดินแดนของสวิสถูกรวมเข้ากับฝรั่งเศษ ต่อมาในปีค.ศ.1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง กล่าวได้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามระหว่างฝรั่งเศษ เยอรมัน และออสเตรีย มีการประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญขึ้นในปี ค.ศ.1848 โดยระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ มีภาษที่ใช้เป็นทางการคือเยอรมัน ฝรั่งเศษ และอิตาลี ทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ เที่ยวสวิตเซอร์แลนด์
การเมืองการปกครองสวิตเซอร์แลนด์
ระบบการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์นั้นในแต่ละรัฐจะมีรัฐธรรมนูญรวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นแตกต่างกันไปซึ่งจะไม่รวมกับการบริหารราชการส่วนกลาง และอำนาจทางนิติบัญญัติของสมาพันธ์ ตั้งอยู่ที่รัฐสภาแห่งสมาพันธ์ (Federal Assembly)
การบริหาร
ในการบริหารส่วนกลางของสวิสนั้น อำนาจจะอยู่ที่คณะรัฐมนตรีเรียกว่า The Federal Council มีสมาชิกเรียกว่ามนตรีแห่งสมาพันธ์ (Federal Councillor) โดยมีทั้งหมด 7 คน ซึ่งจะบริหารงานทั้ง 7 กระทรวง รัฐสภาจะเป็นผู้เลือกให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และในจำนวนทั้ง 7 คนก็จะมีการผลัดเปลี่ยนวาระในการขึ้นดำรงตำแหน่งกันครั้งละหนึ่งคน ในการขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีวาระ 1 ปีเป็น "The First Among Equals" เพราะเหตุนี้เองประธานาธิบดีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงไม่มีการไปเยือนยังต่างประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐนั่นเอง
นโยบายต่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีนโยบายที่ยึดเอาเป็นแกนหลัก 4 ประการได้แก่
- ความเป็นกลาง (neutrality)
- ความมีน้ำหนึ่งใจเดียว (solidarity)
- ความเป็นสากล (universality)
- ความเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (availability)
ในเวลาต่อมาเมื่อเริ่มมีการค้าติดต่อกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเงินและกฏหมาย หน่วยงานและองค์กรต่างๆได้เริ่มมีบทบาทกับต่างประเทศมากขึ้น จึงทำให้สวิสต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามกลไกเศรษฐกิจสากล
การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
สวิตเซอร์แลนด์ได้ให้ความสำคัญต่อการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่รัฐบาลได้มีการรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจในความสำคัญของการเข้าร่วมเป็นองค์การสหประชาชาติ และในวันที่ 3 มีนาคม 2545 ก็ได้มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศ ซึ่งในปีค.ศ.1986 เคยมีการจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้ว แต่ไม่เป็นผลเพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเนื่องจากกลัวที่จะเสียความเป็นกลางทางนโยบายของประเทศไป แต่ต่อมาประชาชน รวมถึงภาครัฐบาลก็ลงมติเห็นด้วยในการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งผู้ที่ลงมติเห็นชอบคิดเป็นร้อยละ 54.61 และผู้ที่ไม่เห็นชอบคิดเป็น 45.39 และเสียงส่วนใหญ่ของภาครัฐจากทั้งหมด 23 รัฐ เห็นด้วย 12 รัฐ ทั้งนี้ประชากรที่ร่วมลงมติคิดเป็นร้อยละ 57.7
การเจรจาทวิภาคีกับสหภาพยุโรป
รัฐบาลได้มีการประกาศนโยบายที่จะเข้ามามีบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้นได้แก่การเข้ามาเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ และการที่จะพยายามเข้ามาเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เพราะเนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวในยุโรปได้ จึงได้มีการตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกเขตการค้ายุโรป (European Economic Area) ขึ้นในปีค.ศ.1992 แต่ก็ไม่ได้รับความเป็นชอบเท่าที่ควร รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการเข้าเจรจากับทางสหภาพยุโรปในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1994 เพื่อทำความตกลงในทวิภาคีทั้ง 7 สาขาได้แก่
- การเคลื่อนย้ายบุคคล
- แรงงานเสรี
- การวิจัย
- การขนส่งทางบก
- การบิน
- การเปิดเสรีทางการค้า
- การให้สิทธืภาคเอกชนของสหภาพยุโรป